ช่วงเวลาในการสร้างพระของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในรัชกาลต่าง ๆ

ช่วงเวลาในการสร้างพระของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในรัชกาลต่าง ๆ

ช่วงเวลาในการสร้างพระของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในรัชกาลต่าง ๆ

สมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2350 - 2367, สมเด็จโตอายุ 20 - 36 ปี) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขณะที่ท่านมีอายุครบอุปสมบทในปี พ.ศ. 2350 รัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในระหว่างปี พ.ศ. 2363 - 2365 ท่านเจ้าประคุณสมเด็จได้ร่ำเรียนวิปัสสนากรรมฐานขั้นสูง รวมทั้งศึกษาการออกแบบแม่พิมพ์และมวลสารในการสร้างพระพิมพ์กับสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) อีกด้วย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เริ่มสร้างพระพิมพ์ใน พ.ศ. 2350 ซึ่งเป็นพรรษาแรกที่ท่านได้บวชเป็นพระภิกษุ (ข้อมูลจาก: หนังสือ ภาพ-ประวัติพระสมเด็จโต โดย พ.ต.ต. จำลอง มัลลิกะนาวิน พ.ศ. 2517)

สมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367 - 2394, สมเด็จโตอายุ 36 - 63 ปี) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าประคุณสมเด็จฯ ใช้เวลาไปกับการธุดงค์ทั่วประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านทั้งพม่า ลาว เขมร อีกทั้งยังใช้เวลาศึกษาวิชาธรรมะขั้นสูงในถ้ำทางภาคเหนือกับหลวงปู่ใหญ่ หรือ หลวงปู่เทพโลกอุดร ระหว่างที่ท่านใช้เวลาเวลาไปกับการธุดงค์ ท่านได้สร้างพระพุทธรูปไว้ที่วัดต่าง ๆ เช่น

ปี พ.ศ. 2365 สร้างพระพุทธรูปป่าเลไลยก์ที่วัดใหม่ทองเสน ย่านเกียกกาย จ. กรุงเทพฯ

ปี พ.ศ. 2375 สร้างพระพุทธรูปที่วัดกลางคลองข่อย ต. คลองข่อย อ. โพธาราม จ.ราชบุรี

ปี พ.ศ. 2385 ปฏิสังขรณ์พระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล หลังจากทิ้งร้างมานานเกือบร้อยปีภาย หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

สำหรับการสร้างพระเครื่องในสมัยที่ท่านเดินธุดงค์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่สันนิษฐานจากคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่าว่า ท่านมักจะบรรจุพระพิมพ์ตามปูชนียสถานต่าง ๆ ที่ท่านได้สร้างหรือบูรณะปฏิสังขรณ์เสมอ (ไม่นับรวมกรุผียัด) ส่วนจะมีพิมพ์ใด สร้างเมื่อใดหรืออยู่ที่ใดบ้าง ยังเป็นสิ่งที่ต้องค้นคว้าหาความจริงกันต่อไป บางทีขณะนี้พระพิมพ์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ อาจยังมีหลงเหลือที่บรรจุอยู่ในกรุเจดีย์ตามปูชนียสถานต่าง ๆ รอวันที่ผู้มีบุญญาธิการมาค้นพบในกาลข้างหน้า

สมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 - 2411, สมเด็จโตอายุ 63 - 80 ปี) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2395 ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระธรรมกิตติ” และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆัง ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี  และในปี พ.ศ. 2397 ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่ “พระเทพกระวี” หลังจากนั้นอีก 10 ปี ในปี พ.ศ. 2407 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นสมเด็จพระราชาคณะที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์”  ซึ่งเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดและเป็นชั้นสุดท้ายที่ท่านได้รับตราบจนถึงวันมรณภาพ

            ในปี พ.ศ. 2410 ท่านได้เริ่มสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดอินทรวิหาร จ. กรุงเทพฯ

สมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - 2415, สมเด็จโตอายุ 80 - 84 ปี) ซึ่งเป็นช่วงปลายชีวิตของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในช่วงต้นของรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2411-2412 ได้มีการสร้างพระพิมพ์ พระบูชา และวัตถุมงคลมากมายเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีการจัดพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ที่สุดตั้งแต่ที่เคยมีมาในยุครัตนโกสินทร์


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้