การเสกและทำผงอิธะเจ
นั้นก่อนเขียนผงอิธะเจท่านให้ทําผงดินสอเสียก่อน โดยให้เอาใบไม่รู้นอน ๗ อย่าง คือ ใบกระทืบยอด ใบหิงหาย ใบพรมมิ ใบมะขาม ใบผักกระเฉด ใบหงอนไก่ ใบรักซ้อน รวมทั้งหมด ๗ อย่าง แล้วเอาแป้งหอม ชะมด พิมเสน ดอกมะลิซ้อน กฤษณา กะลําพัก ขอนดอก จันทน์แดง จันทน์ขาว ดอกรักซ้อน สรรพยาทั้งหลายดังกล่าวตําป่นให้ละเอียด แล้วบดในหินบดแบบหินบดยาสมัยก่อน โดยต้องบดในโบสถ์และต้องจุดธูปเทียนบูชา แล้วใช้น้ำมันหอมเจือปั้นเป็นแท่งดินสอเป็นแท่งๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วเก็บไว้เขียนผง
สําหรับตําราที่นิยมเขียนกันนั้น เมื่อปรากฏในตําราว่าให้ลบอักขระใดก็ให้ลบไปบังเกิดใหม่ นั้นลงไปแทนที่กล่าวคือถ้าให้ลบ อิธะ เป็น นะ ก็ลบอิธะ เสียเขียนตัวนะ ลงไปแทนหรือขณะเมื่อตั้งตัว
อิธะ อิติอิติ ฯลฯ ลงไปแรกนั้น เมื่อเขียนตัวอักษรขอมให้เสก คาถานี้ก่อน ดังนี้
“ปิโยเทวะมนุสสานัง ปิโยพรหมา นะมุตตโม ปิโยนาคะสุปัน นานัง ปิณินทริยัง นมามิหัง อิทะ อิติ อิติ อัสสา อุทัง อะหัง อัคคัง อะหัง อะหัง อิถัง อัมมะ อัสสา สัพเพชะนา พหูชะนา ปุริ โสวา ภะคนิ อาคัจฉาหิ”
และเมื่อทําขาดตัวเป็น อิธะเจตะโสทัฬหังคัณหาหิถามะสา แล้วก็ให้เสกด้วยคาถา
“ปิโยเทวะมนุสสานัง ปิโยพรหมา นะมุตตะโม ปิโยนาคะสุปัน นานัง ปิณินทริยัง นะมามิหัง ปะถะมัง อิธะโลโปจะ (อิธะ) นะกา โรโหติสัมภโว บังเกิดเป็น นะ (ลบ อิธะ เป็น นะ)
ทุติยัง เจตะโส โลโปจะ (เจตตะโส) โมกาโรโหติสัมภะโว บังเกิดเป็นโม (ลบเจตตะโสเป็นโม)
ตติยัง ทัฬหัง โลโปจะ (ทัฬหัง) พุทธกาโรโหติสัมภโว บังเกิด เป็นพุทธ (ลบ ทัฬหัง เป็น พุทธ) จตุถัง คัณหามิ โลโปจะ (คัณหาหิ) ธากาโรโหติสัมภโว บังเกิดเป็นธา (ลบคัณหาหิ เป็น ธา) ปัญจะมัง กามะสา โลโปจะ (ถามะสา) ยะกาโรโหติสัมภโว บังเกิดเป็นยะ (ลบ ถามะสา เป็นยะ)
เป็นอันว่าได้อักขระใหม่เป็น นะโมพุทธายะ แล้วเสกนโมพุทธา ยะด้วยคาถา ดังนี้ เสกตัวนะ ให้ว่า
“นะรา นะระหิตัง เทวัง นะระเทเวหิปูชิตัง
นะรา นะระกามะปังเกหิ นะมามิสุคะตัง ชินัง”
เสกตัวโมว่า
“โมหะมานังปะริชินัง โมหะมัตตังปะกาสิตัง
โมหะสัพพัญญตะญาณัง โมหะชิตัง นะมามิหัง” เสกตัวพุทให้ว่า
“พุทโธพุทธานังพุทธะตัง พุทธัญจะพุทธภาสิตัง พุทธตัง สะมะนุปิปัตโต พุทธะโธตังนะมามิหัง” เสกตัวธาให้ว่า
“ธาตานังสัพพะธัมมานัง ธาตุภูตัง ปะกาสิตัง
ธาตานังสัคคะนิพพานัง ธาตุภูตัง นะมามิหัง
เสกตัวยะให้ว่า
“ยัตถะชันติ สังวิชานะ ยัตถะธัมมา สะปัญญานะ
ยัตถะสังฆาอนุปปัตโต ยัตถะติณณังนะมามิหัง
ปิโยเทวะมนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม
ปิโยนาคะสุปันนานัง ปิณิณทริยัง นะมามิหัง
สัพเพชะนา พหูชะนา ปุริโส ภคินี อาคัจฉาหิ”
จบแล้ว นมัสการนะโมพุทธายะ ด้วยคาถา
“นะกาโรถุตตุสันโธ โมกาโรโก นาคะมะโน พุทธกาโรกัสสโป ธากาโรสิริสากยะมุนี ยะกา โรอริยะ เมตตัยโย นะโมพุทธายะ ปัญจพุทธา นะมามิหัง”
แล้วลบนะโมพุทธายะเป็นอิธะคะมะ
เวลาลบนะโมก็ต้องภาวนาว่า “ปะถะมัง นะโม อัตตะโลโปจะ” แล้วลบนะโมออกไปครึ่งตัว บังเกิดเป็นอิ โดยเขียนตัวอิ พร้อมกัน ภาวนาว่า “อิกาโรโหติสัมภโว” จงบังเกิดเป็น อิ
แล้วลบโมกับพุทธ ครึ่งหนึ่งภาวนาว่า “ทุติยัง โมพุทธ อัฑฒะโล โปจะ” แล้วลบโมกับพุทออกไปครึ่งตัว บังเกิดเป็นธะพร้อมกับภาวนาว่า ธะกาโร โหติสัมภโว จงบังเกิดเป็น ธะ
ต่อจากนั้นลบตัว พุทกับธาลงอีกครึ่งตัวภาวนาว่า “ตติยัง พุทธาอัฑฒะโลโปจะ” แล้วลบพุทกับธาลงไปอีกครึ่งตัว ภาวนาว่า “คะกาโรโหติสัมภโว” จงบังเกิดเป็น คะ
ลบตัวธากับตัวยะภาวนาว่า “จตุตถัง ธายะโลโปจะ” แล้วลบตัว ธากับยะภาวนาว่า “มะกาโรโหติสัมภโว” บังเกิดเป็นตัว มะ
สําเร็จเป็น อิ ธะ คะ มะ คือ หัวใจของอิธะเจ แล้วเสกด้วย
“ปิโยเทวมนุสสายัง ปิโย พรหมานะมุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิณิณทริยังนะมามิหัง อุมังคะลามหา สัพพพุทธานัง ทะระหะนา รัมนะติภเว
สัพเพชะนา พหูชนะนา ปุริโสวา ภะคินี อาคัจฉาหิ” ต่อจากนั้นลบตัว อิ ธะ คะ มะ เป็น มะอะอุ
กรรมวิธีเช่นเดียวกัน คือ ลบตัวอิกับตัวธะเสียครึ่งหนึ่ง แล้ว ภาวนาว่า
“ปะถะมัง อิธะ อัฑฒะโลโปจะ” แล้วเขียนตัวมะลงไปภาวนาว่า “มะกาโรโหติสัมภโว” จงบังเกิดเป็นมะ แล้วลบตัว ธะกับคะ ลงเสียอีกครึ่งหนึ่งภาวนาว่า “ทุติยังขะคะ อัฑฒะโลโปจะ” แล้วเขียนตัวอะลงไป ภาวนาว่า “อะกาโรโหติสัมภโว” จงมาบังเกิดเป็น อะ
แล้วลบตัว คะมะ เสียโดยภาวนาว่า “ตติยัง คะมะโสโปจะ" แล้วเขียนตัวอุลงไปภาวนาว่า
“อุทาโรโหติสัมภโว” จงมาบังเกิดเป็น อุ แล้วเสก มะอะอุ ด้วยคาถา เสกตัวมะว่า
ธัมมัฏฐิโต ธัมมะคะรู ธัมมะกาโม ตะถาคะโต
ธัมมะหัสสี ธัมมะราชา ธัมมะสามิ จะเตนะโม”
เสกตัว อะ ว่า
“อะระหังบูชาสักการัง อะระโหปาปังอะกาเย อะระหัตตะยลัปปัตโต อะระโหนามะเตนะโม”
เสกตัว อุ ว่า
“อุตตะโมจัตถุโรพุทโธ อุตตะโม ธัมมะเทสะอิ อุตตะโมโมกขัน ตะเทหัง อุตตะโมตัง นะมามิหัง
ปิโยเทวะมนุสสานัง ปิโยพรหมา นะมุตตะโม ปิโยนาคะสุปัน นานัง ปิณิณทริยัง นะมามิหัง
สุวัณณะมุขัง วาจิตตัง มหาโวโม
อิตถียังปิยังมะมะ สัพเพชะนา พหูชะนา ปุริโสวา ภะคินี อาคัจฉาหิ”
แล้วสวดบทนมัสการว่า
“มะอะอุ ลักขะณังขาตัง มะกาโร พุทธะลักขะณัง อะกาโรธัม มะลักขะณัง อุกาโรสังฆะลักขณัง อิจเจตังระตะนัตตะยัง"
ต่อจากนั้นลบ มะอะอุ เป็นองค์พระ
โดยลบตัว มะลงครึ่งหนึ่งแล้วว่า “ปะถะมัง มะอัฑฒะโลโปจะ ลบตัวมะแล้วเขียนเศียรพระ ภาวนาว่า “สีสะพุทธา ปะนะทายะ"
ลบตัว อะ ลงครึ่งหนึ่งแล้วว่า “ทุติยัง อะอัฑฒะโลโปจะ” ลบตัวอะ แล้วเขียนองค์พระ ภาวนาว่า “อังคะพุทธา ปะนะชายะเต”
ลบตัว อุ เสียครึ่งหนึ่ง แล้วว่า “ตติยัง อุอัฑฒะโลโปจะ” ลบตัวอุ แล้วเขียนบาทพระ ภาวนาว่า “บาทะพุทธา ปะนะชา ยะเต”
เหลือเศษตัว มะตัวอะ ตัว อุ อย่างละครึ่งตัว เศษของตัวมะ ภาวนาว่า “จะตุตถัง เมเสสะโลโปจะ” แล้วเขียนตัว ภาวนาว่า “อัฑฒะจันทาปะนะชายะเต ปัญจมัง อะเสสะโลโปจะ” แล้วเขียนตัว ลงเหนือจันทร์ครึ่งซีกพร้อมกับภาวนาว่า พินธุองคการปะนะ ชายะเต”
ฉัฏฐะมัง อุเสสะโลโปจะ แล้วเขียนตัว ภาวนาว่า “อุณณา โลมา ปะนะชายะเต”
สําเร็จเป็นองค์พระดังนี้
เสร็จแล้วสวด คาถาเสกองค์พระดังนี้
“อิติปาระมิตาติงสา
อิติสัพพัญญูมาคะตา
อิติโพธิมนุปปัตโต
อิติปิโส จะ เตนะโม
ปิโยเทวะมนุสสานัง
ปิโยพรหมมานะมุตโม
ปิโยนาคะสุปันนานัง
ปิณินทริยัง นะมามิหัง
สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโส
ภคินี อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ”
คาถานมัสการ
“พุทธะรูปังสิระสังขาตัง
พุทโธโหติสัมภโว
พุทธะรูปังชาตัง
องคะพุทโธ โหติสัมภโว
พุทธะรูปังชาตัง
อะหังวันทามิสัพพะทา”
จากนั้นสวดนมัสการแล้วลบองค์พระเป็นอุณาโลม โดยเริ่มลบตั้งแต่บาทคือท่อนล่างสุด แล้วว่าคาถา
“ปะถะมัง ปาทะพุทธาโลโปจะ” ลบบาทแล้วภาวนาพร้อมกับ เขียนอุณาโลม
ว่า อุณาโลมา ปานะชายะเต” บังเกิดเป็นอุณาโลม แล้วลบองค์พระคือ ท่อนที่สองภาวนาว่า
ทุติยัง อังคะพุทธาโลโปจะ ลบองค์พระแล้วภาวนาพร้อมกับ เขียนอุณาโลม
ว่า อุณาโลมา ปานะชายะเต” บังเกิดอุณาโลม แล้วลบศีรษะพระ ว่า
ตติยัง สีสะพุทธาโลโปจะ ลบเศียรพระแล้วภาวนาพร้อมกับ เขียนอุณาโลม
ว่า อุณาโลมา ปานะชายะเต” บังเกิดเป็นอุณาโลม ลบพระจันทร์ครึ่งซีก ว่า
จตุตตัง อัฑฒะจันทาโลโปจะ ลบพระจันทร์ครึ่งซีกพร้อมกับ เขียนอุณาโลม
ว่า “อุณาโลม ปานะชายะเต” บังเกิดเป็นอุณาโลม
ลบพินธุ ว่า
ปัญจะมัง พินธุอังการะโลโปจะ ลบพินธุพร้อมกับภาวนาพร้อม กับเขียนอุณาโลม
ว่า “อุณาโลม ปานะชายะเต” เกิดเป็นอุณาโลมลบอุณาโลมว่า ฉัฏฐะมัง อุณาโลมะโลโปจะ ลบอุณาโลมพร้อมกับภาวนา เขียนอุณาโลม
ว่า “อุณาโลมา ปานะชายะเต” บังเกิดเป็นอุณาโลม
เป็นอันว่าได้อุณาโลมเกิดใหม่ ๖ อุณาโลม แล้วเสกด้วยคาถาว่า
“ปิโยเทวะมนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม ปิโยนาคะสุปัน นานัง ปิณินทริยัง นะมามิหัง กามะภะเวรัม มะติกามัง รูปะภะเวรัมมะติรูปัง อะรูปะภะเวรมมะติชานัง ปุริสะอิตถีรัมมะตราดัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ เยเยปะสันติปิยังมะนาปัง จักขุโสตังกายะ หัทธะยัง สัมผัสสะลิเนหัง อุมัตตะโกวิ ยะสวาหะ สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโส ภคิน อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ”
เสร็จแล้วนมัสการว่า
“จันทิตะวา อุณาโลมา มหาสิทธิพุทธา มหาสิทธิธัมมา มหาสิทธิสังฆา อะหังวันทามิ สัพพะทา”
แล้วลบอุณาโลมทั้ง ๖ อุณาโลม เป็นสูญโดยลบทีละตัว พร้อม กับว่า
ปะกะมัง อุณาโลมะโลโปจะ ลบอุณาโลมตัวแรกแล้วเขียน ภาวนาว่า “สุญญะกาโรโหติสัมภโว” บังเกิดเป็นสูญ
ลบตัวที่สองว่า ทุติยัง อุณาโลมะโลโปจะ ลบอุณาโลมแล้วเขียน ภาวนาว่า “สูญญะกาโรโหติสัมภโว" บังเกิดเป็นสูญ
ลบตัวที่สามว่า ตติยัง อุณาโลมะโลโปจะ ลบอุณาโลมแล้วเขียน ภาวนาว่า “สูญญะกาโรโทติสัมภโว” บังเกิดเป็นสูญ
ลบตัวที่สี่ว่า จตุตถัง อุณาโลมะโลโปจะ ลบอุณาโลมแล้วเขียน ภาวนาว่า “สูญญะกาโรโหติสัมภโว" บังเกิดเป็นสูญ
ลบตัวที่ห้าว่า ปัญจะมัง อุณาโลมะโลโปจะ ลบอุณาโลมแล้วเขียน ภาวนาว่า “สุญญะกาโรโหติสัมภโว” บังเกิดเป็นสูญ
ลบตัวที่หกว่า ฉัฏฐะมัง อุณาโลมะโลโปจะ ลบอุณาโลมแล้วเขียน ภาวนาว่า “สัญญะกาโรโหติ สัมภโว” บังเกิดเป็นสูญ
แล้วเสกสูญทั้ง ๖ ว่า “ปิโยเทวะมนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม ปิโยนาคสุปันนานัง ปิณินทริยัง นะมามิหัง อุมังคะลามหาสัพพะ พุทธานัง ทะระหะนา รัมมะติภะเว สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโส ภคินิ อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ”
นมัสการสูญว่า “นะมามิ โชติ ปะระมัตถะสูญยัง นะมามิสูญยัง ปะระมัตถะเทสัง นะมามิเทสัง ปะระมัตถะ สูญยัง ยังยัง ปะเทสัง ปะนะมามิพุทธัง”
แล้วลบสูญทั้ง ๖ รวดเดียวเป็นมหาสูญ ภาวนาว่า “สุญญะโลโมกัญเจวะ มหาสูญโญโหติสัมภะโว"
แล้วเสกมหาสูญด้วย “ปิโยเทวะ มนุสสานัง ปิโยพรหมมานะ มุตตะโม ปิโยนาคะสุปันนานัง
ปิณินทริยัง นะมามิหัง มหาอังการะ สุญญัง ฉายะ มะระณังnะเว สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโส ภคินี อาคัจฉาหิ”
สวดนมัสการด้วยคาถา
“นะมามิ โชติปะระมัตถะสูญยัง นะมามิสุญญัง ปะระมัตถะเทสัง นะมามิเทสัง ปะระมัตถะ สูญยัง ยังยัง ปะเทสัง ปะนะมามิพุทธัง”
แล้วลบมหาสูญด้วยคาถานี้
"มหาสูญญะนิพานัง อาทิคัจฉะติ อุทะวาระทะวาเร ปะฏิฉันปัญเจวะ เป็นนิพพานสูญไป”
มีตําราเกี่ยวกับการลบผงอิธะเจ อีกตํารับหนึ่ง คือ
ท่านให้ตั้ง นะพินธุ ขึ้นก่อน แล้วทําตามขั้นตอนของการเขียน นะปะถะมัง โดยเขียนและภาวนาตามนั้น
แล้วให้ลบ นะพินธุ เป็นอิธะเจ ตะโสทัฬหังคัณหาหิถามะสา
ให้ลบส่วนที่เป็น พินธุ ก่อนภาวนาว่า “ปะถะมัง พันธุโลโปจะ” แล้วเขียนอิธะ พร้อมกับภาวนาว่า “อิธะกาโรโหติสัมภโว” บังเกิดเป็นอิธะ
ลบส่วนที่เป็น ทัณะทะ ภาวนาว่า “ทุติยัง ทัณฑะโลโปจะ” แล้ว เขียนเจตโส พร้อมกับภาวนาว่า “เจตะโส กาโรโหติสัมภโว” บังเกิด เป็น เจตะโส
ลบส่วนที่เป็น เภทะ ภาวนาว่า “ตติยัง เภทะโลโปจะ” แล้ว เขียนทัฬทัง พร้อมกับภาวนาว่า “ทัฬหัง กาโรโหติสัมภโว” บังเกิดเป็นทัฬทัง
ลบส่วนที่เป็น อังกุ ภาวนาว่า “จตุตถัง อังกุโลโปจะ” แล้วเขียน คัณหาหิ พร้อมกับภาวนาว่า “ดัณหาหิ กาโรโหติสัมภโว" บังเกิดเป็น คัณหาหิ
ลบส่วนที่เป็น สิระ ภาวนาว่า “ปัญจะมัง สิระโลโปจะ” แล้ว เขียนถามะสา พร้อมกับภาวนาว่า “ถามะสา กาโรโหติสัมภโว” บังเกิด เป็น ถามะสา
สําเร็จเป็น อิธะเจตะโส ทัฬหัง คัณหาหิถามะสา แล้วเสกด้วย
“อิทธิวิกุพพะภัตตาโร อิทธิกาโร ปะกาสิโต อิทธิริทธิกะโร กะโร อิทธิการังนะมามิหัง”
แล้วเสกด้วยอิธะเจ ถามะสา แล้วลบอิธะเจตะโส ทัฬหัง คัณหาหิถามะสา เป็น มุทุจิตตัง ภัทเทเอหิ
ลบ อิธะ แล้วว่า “ปะถะมัง อิธะโลโปจะ” แล้วเขียน มุทุ ภาวนาว่า “มุทุกาโรโหติสัมภโว” บังเกิดเป็น มุทุ
ลบ เจตะโส แล้วว่า ทุติยัง เจตะ โสโลโปจะ แล้วเขียน จิตตัง ภาวนาว่า “จิตตั้งกาโรโหติสัมภโว” บังเกิดเป็นจิตตัง
ลบ ทัฬหัง แล้วว่า ตติยัง ทัฬหังโลโปจะ แล้วเขียน ภัทเท ภาวนาว่า “ภัทเทกาโรโหติสัมภโว” บังเกิดเป็น ภัทเท
ลบคัณหาหิ แล้วว่า “จตุตถังคัณหาหิโลโปจะ” แล้วเขียน เอ ภาวนาว่า “เอกาโรโหติสัมภโว” บังเกิดเป็น เอ
ลบถามะสาแล้วว่า “ปัญจะมัง ถามะสาโลโปจะ” แล้วเขียน หิ ภาวนาว่า “ทิกาโรโหติสัมภโว” บังเกิดเป็น หิ
สําเร็จเป็น มุทุจิตตัง ภัทเท เอหิ แล้วเสกว่า
“มุทุจิตตัง ภัทเท เอหิโมกขัง โมหันตะวา นะระคุณเณ นะมัยหัง ทิสะวานะ สามีวิยะ ภัทเทเอหิ เอหิ ปะริเวทันติ”
ต่อจากนั้น ลบมุทุจิตตัง ภัทเท เอหิ เป็น นะโมพุทธายะต่อไป
ลบมุทุ ภาวนาว่า “ปะถะมัง พุทโลโปจะ” แล้วเขียนตัวนะโดย ภาวนาว่า “นะกาโรโหติสัมภโว” บังเกิดเป็นนะ
ลบจิตตังภาวนาว่า “ทุตินัง จิตตังโลโปจะ” แล้วเขียนตัวโม โดยภาวนาว่า “โมกาโรโหติสัมภโว” จงบังเกิดเป็น โม
ลบภัทเทภาวนาว่า “ตติยัง ภัทเทโลโปจะ” แล้วเขียนตัวพุทโดย ภาวนาว่า “พุทธกาโรโหติสัมภโว” จงบังเกิดเป็น พุท
ลบเอ ภาวนาว่า “จะตุตถัง เอโลโปจะ” แล้วเขียนตัวธา โดย ภาวนาว่า “ธากาโรโหติสัมภโว” จงบังเกิดเป็น ธา
ลบหิ ภาวนาว่า “ปัญจะมัง ที่โลโปจะ” แล้วเขียนตัวยะ โดย ภาวนาว่า “ยะกาโรโหติสัมภโว” จงบังเกิดเป็น ยะ
ได้นะโมพุทธายะ แล้วใช้บทนมัสการว่าและเสกคาถาตามนี้
“นะกาโกกุกกุสันโธ โมกาโรโกนาคะมะโน พุทกาโรกัสสะโป พุทโธ ธากาโรสิริศากยะมุนี ยะกาโรอะริยะ เมตตัยโย นะโมพุทธายะ ปัญจะพุทธานมามิหัง
นะเคลิ้ม โมเฟือน พุทเลื่อนเปื้อน ธาเพื่อนหัวใจ ยะเคลิ้ม หลงใหล จิตตินิมิตติ
นะจะใคร่ โมใจอ่อน พุทธาร้องไห้ ยะมาหากู”
ต่อจากนั้นให้ลบนะโมพุทธายะเป็นมะอะอุ
ลบนะโม ภาวนาว่า “ปะถะมังนะโมโลโปจะ” แล้วเขียนตัว มะ ภาวนาว่า “มะกาโรโหติสัมภโว” จงบังเกิดเป็น มะ
ลบพุทธา ภาวนา “ทุติยัง พุทธาโลโปจะ” แล้วเขียนตัว อะ ภาวนาว่า “อะกาโรโหติสัมภโว” จงบังเกิดเป็น อะ
ลบยะ ภาวนาว่า “ตติยัง ยะโลโปจะ” แล้วเขียนตัวอุ ภาวนาว่า “อุกาโรโหติสัมภโว” จงบังเกิดเป็น อุ
ได้มะอะอุ แล้วเสกด้วยคาถานี้
“มะอะอุ สิวังพรหมาจิตตัง มานิมา อิตถียา อัตตะโน อา คัจฉาหิ”
แล้วลบ มะอะอุ เป็นองค์พระ
ลบมะลงครึ่งตัว ภาวนาว่า “ปะถะมัง มะอัฑฒะโลโปจะ”
แล้วเขียนเศียรพระ ภาวนาว่า “ศีรษะพุทธาปะนะชายะเต”
ลบอะลงครึ่งตัว ภาวนาว่า “ทุติยัง อะอัฑฒะโลโปจะ”
แล้วเขียนองค์พระ ภาวนาว่า “องคะพุทธาปะนะชายะเต”
ลบอลงครึ่งตัว ภาวนาว่า “ตติยัง อุทัฑฒะโลโปจะ"
แล้วเขียนบาทพระภาวนาว่า “ปาทะพุทธานะชายะเต”
ลบมะอีกครึ่งตัว ภาวนาว่า “จะตุตถัง มะเสสะโลโปจะ”
แล้วเขียนจันทร์ครึ่งซีก ภาวนาว่า “อัฑฒะจันทา ปะนะชายะเต”
ลบอะอีกครึ่งตัว ภาวนาว่า “ปัญจะมัง อะเสสะโลโปจะ”
แล้วเขียนสูญภาวนาว่า “พินธุอังการะวิชายะเต”
ลบ อีกครึ่งตัว ภาวนาว่า “ฉัฏฐะมัง อุเสสะโลโปจะ”
แล้วเขียนอุณาโลมภาวนาว่า “อุณาโลมาปะนะชายะเต”
สําเร็จเป็นองค์พระจันทร์สูญอุณาโลม แล้วเสกด้วย
“ตะทาอิตถีปุริโสปุริสัง ปุริโสจะอิตถีอะติเวลัง อุปะนัชฌายะ ปัจจะยา กามะราคะ
ปริทาโท อุปัชชะติกามะ ติรูชะจิตตัง พันธะตัง อาคัจฉายะ อาคัจฉาหิ ติวัตตัพโพ อาคัจฉาหิ
นางรักกู สาวหะ...”
แล้วลบองค์พระลงด้วยคาถานี้ “อนุปปทิฏฐานัง วุตตะโยคะโต” อุทาหรณ์อันใดเป็นไปมิได้สําเร็จอาจารย์พึ่งให้สําเร็จแล้ว ด้วยสูตรสนธินี้
การเขียนและเสกผงอิธะเจนี้ ผู้รู้ต้องเรียนมูลกัจจายนสูตรอย่างแตกฉาน จึงจะสามารถทําผงอิธะเจได้ คุณวิเศษนั้นอาจารย์ได้ให้ความหมายไว้ว่า “อิธะเจตะโสทัฬหัง ตัณหาหิถามะสา"
อาจาริเยนะ อันพระอาจารย์เจ้า
ฐะปิยะเต ตั้งไว้แล้ว
ภคินี ดูกรน้องหญิง
ตะวัง อันว่าเจ้า
คัณหาหิ จงถือเอา
ปิยัง ซึ่งความรัก
ทัฬหัง ให้มั่น
มะมะ ตามมา
ถามะสา ด้วยกําลัง
เจตะโส แห่งจิตรัก
อิธะถาเน ให้สถานที่นี้
โดยเฉพาะผงอิธะเจนั้นมีอิทธิฤทธิ์อิทธิเดชมากมายจนเรียกเป็น ผงเสน่ห์ทีเดียว เช่น
ถ้าจะเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินให้เอาทาที่หว่างคิ้วก่อน แล้วจึงเอาสีปากไปเถิดท่านรักเราแล
ถ้าจะให้คนทั้งหลายรัก ให้เอาทาศีรษะก่อน แล้วจึงสีปาก ท่านรัก
ถ้าจะไปหาท้าวพระยาสมณชีพราหมณ์ ให้เอาสีปากก่อนแล้วจึงเอาทาคิ้วและหน้าผากไปเถิด
ถ้าจะไปสงคราม ท่านให้นําผงปั้นพระกัจจายนะ เสกด้วยตนเอง ๑๐๘ อิติปิโส ภควาติ ๑๐๘ แล้วใส่ในผ้าโพกศีรษะ อาวุธปืนไฟมาดังห่าฝนมิได้ถูกเลย
อนึ่งให้เอาผงใส่ในเต้าปูน สตรีกินเข้าไป รักเราแล
หรือจะใส่ในโอ่งน้ํา ก็จะรักเราทั้งครัวเรือน
หรือเอาผงใส่ในบุหรี่ สูบพ่นควันเข้าไปแล้วรักเรามาหาเรา เป็นต้น
ผงพุทธคุณนั้น นอกจากผงปถมัง ผงอิธะเจ แล้วยังมีผงมหาราช ผงตรีนิสิงเห อีกที่เป็นส่วนผสมในพระเครื่องเนื้อผงหรือเนื้อว่าน (เกสร) อันสืบทอดการสร้างมานานนับพันปี
การที่พระเครื่องมีกฤตยาภินิหารอยู่ได้ทุกวันนี้ เกิดจากอิทธิฤทธิ์ อิทธิเดชของผงพุทธคุณดังกล่าว ที่มีครูบาอาจารย์เขียนยันต์และเสก ตามตํารับตําราโบราณ ซึ่งทําผงพุทธคุณเป็นผงวิเศษได้ (ปัจจุบันผู้ทําเป็นเหลือน้อย)
สําหรับคาถาปลุกเสกพระสมเด็จฯ นั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้รจนาคาถาชินบัญชรเป็นบทนมัสการที่มีพุทธคุณสูงยิ่งจนเป็นยอดพระคาถาสําคัญของพระเครื่องอยู่ทุกวันนี้และตลอดไป