พระสมเด็จฯ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์จนเป็นพระเครื่องยอดนิยมอันดับหนึ่งนั้น สืบเนื่องมาจากมีมวลสารที่ประกอบด้วยผงพุทธคุณ หรือ ผงวิเศษ คือ ผงปถมัง ผงอิธะเจ ผงมหราช และผงตรีนิสิงเห ซึ่งเกิดจากการเขียนสูตรและยันต์อักขระแล้วลบให้เกิดผงอิทธิฤทธิ์อิทธิเดช ซึ่งจะต้องนํามาเสก โดยบทนมัสการ เขียนแล้วลบๆ เสกๆ วันแล้ว วันเล่าจนมากพอที่ใช้ผสมเป็นผงพุทธคุณ สําหรับสร้างพระเครื่อง
ดินสอที่ใช้เขียนยันต์อักขระบนกระดานชนวนโบราณนั้น ทํามาจากดินสอพองที่นํามาละลายน้ำ แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางสะอาดจนได้แป้งเนื้อละเอียด ซึ่งจะต้องทิ้งให้แป้งดินสอพองนั้นตกตะกอนนอนกัน จึงรินน้ำออกให้หมด แป้งชั้นดีจะถูกห่อด้วยผ้าเนื้อละเอียด เพื่อบิดเอาน้ำออกหรือจะใช้ของหนักทับไว้จนเหลือแต่แป้งแท้ๆ จากนั้นนําน้ำข้าวมาผสมกับแป้งนี้ปั้นเป็นแท่งสําหรับใช้เขียนต่อไป วิธีปั้นแป้งแบบโบราณนั้นยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยเอาแป้งผสมกับน้ำปั้นเป็นแท่ง แล้วนําไปผึ่งแดดให้แห้ง เสร็จแล้วนําใบตําลึงมาคั้นเอาน้ําใบตําลึงเท่านั้น นําดินสอที่แห้งแล้วมาย้อมน้ำใบตําลึงให้ทั่วและนำผึ่งแดดอีกครั้งหนึ่ง การย้อมใบตําลึงก็เพื่อไม่ให้ดินสอนั้นติดมือนั่นเอง
การเสกและการทำผงปถมังอันเป็นตํารับตําราโบราณที่สืบทอดกันมานั้น ผู้เรียนรู้ได้ต้องถือว่าเป็นผู้มีความสามารถวิเศษ เพราะคัมภีร์พระปถมังนี้เป็นที่รับรองซึ่งสรรพการทั้งปวงในอิธะโลกและปรโลกสามารถบันดาลช่วยให้สัตว์พ้นจากกองทุกข์ คือ ราชภัย อัคคีภัยและอุปัทวันตรายทั้งปวง และใช้ป้องกันสรรพอาวุธ คือ หอก ดาบ แหลน หลาว ง้าว ทวนธนู และปืน ฟทั้งปวงมิให้มาแผ้วพานได้
การทําผงปถมังนั้น อาจารย์ให้ผู้ทําชําระร่างกายให้สะอาดบริสุทธิ์เสียก่อน แล้วรักษาไตรสรณาคมน์ สมาทานศีลตั้งเครื่องบูชา มีบายศรีปากชามสํารับหนึ่ง เงิน ๖ บาท ผ้าขาวผืนหนึ่ง ขันล้างหน้าใบหนึ่ง เมี่ยงหมาก ดอกบัวสิ่งละ ๕ กรวย ธูปเงิน ธูปทอง เทียนเงิน เทียนทอง อย่างละ ๕ เล่ม แป้งหอม น้ํามันหอมสําหรับเจิม แล้วกล่าวคํานมัสการไหว้ครู ๓ ครั้ง ดังนี้
“โองการพินธุนาถัง อุปปันนัง พรหมาสะหะปะตินามะ อาทิ กัปเป สุอาคะโต อัญจะปทุมัง ทิสวา นะโมพุทธายะ วันทะนัง”แล้วจึงว่าคาถานี้ ๓ ครั้ง
“สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะตะถาคะโต สิทธิเตโช ชะโย นิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตะรัง สัพพะกัมมัง ประสิทธิเม”จบแล้วจึงว่าคาถานี้ ๓ ครั้ง
“อิจเจวะ มัจจันตะ นะมัสสะเนยยัง นะมัสสะมาโน ระตะนัต ตะยังยัง ปุญญาภิสันทังวิปุลัง อะลัตถัง ตัสสานุภาเวนะ ทะตันตะราโย”สําหรับคาถาที่ใช้เสกดินสอ ให้ว่าดังนี้
“พุทธัง ยาวะชีวัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง ยาวะชีวัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง ยาวะชีวัง สะระณัง คัจฉามิ”ทำพินธุปะถะมัง พินธุ กังชาตัง เขียน พินธุ คือวงกลม ดังนี้
แล้วจึงเสกด้วยคาถานี้
“พินธุ เอกัง สุมังพันชัง พินธุ โทอังกุสังยะถา พินธุตรีธัมมวิชาลันทะ เอกะ พินธุ วิชานะเย”ทำทันทะทุติยัง ทัณทะ เมวะจะ แล้วเขียนเส้นต่อจากวงกลมให้เป็นไม้ง่าม ดังนี้
แล้วเสกทัณทะดังนี้ “ทัณทะเอกัง สุมังพันชัง ทัณทะ โทอังกุสังยะลา ทัณทะตรีธัมวิชาลันทะ ทะเวทัณทะ วิชานะเย”
ทำเภทะตะติยัง เภทะ กัญเจวะ เขียน เภทะ ต่อจากไม้ง่าม ดังนี้
แล้วเสกเภทะว่า
“เภทะเอกัง สุมังพันชัง เภทะ โทอังกุสังยะถา เภทะตรีธัมวิชาลันทะ ตรีนิภา ทะวิชานะเย”ทำอังกุจตุตถัง อังกุ สัมภะวัง เขียนเป็นข้อต่อจากเภทะ ดังนี้
แล้วเสกด้วย
“อังกุเอกัง สุมังพันชัง อังกุโท อังกุสังยะลา อังกุตรีธัมวิชาลันทะ จัตตุอังกู วิชานะยะ”ทำสิริปัญจะมัง สิระสัง ชาตัง นะ กาโรโหติ สัมภะโว เขียนเศียรต่อจากอังกุ ดังนี้
แล้วเสกด้วยคาถานี้
“สิระเอกัง สุมังพันชัง สิระโทสังอังกุสังยะลา สิระตรีธัมวิชาลันทะ ปัญจะสิริวิชานะเย” เสร็จแล้วสวดบทนมัสการ นะ ว่า
“ตรีนิ กัตวานะ นะการัง ปัญจะสัมภะวัง” คาถานี้ให้สวด ๓ ครั้ง
เมื่อเขียนและสวดบทนมัสการเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ ลบพินธุเป็นนะโมพุทธายะ
ปะถะมัง พินธุโลโปจะ (ลบส่วนที่เป็นพินธุ) แล้วเขียน
นะ ลงไป ภาวนาว่า
“นะกาโรโหติ สัมภะโว” บังเกิดเป็นนะ
ทุติยัง ทัณทะโลโปจะ (ลบส่วนที่เป็นทัณทะ) แล้วเขียน
โม ลงไปภาวนาว่า
“โมกาโรโหติ สัมภะโว” บังเกิดเป็น โม
ตะติยัง เภทะโลโปจะ (ลบส่วนที่เป็นเกทะ) แล้วเขียน พุท ลงไปภาวนาว่า
“พุทกาโรโหติ สัมภะโว” บังเกิดเป็นพุท
จะตุตถัง อังกุโลโปจะ (ลบส่วนที่เป็นอังกุ) แล้วเขียน
ธา ลงไปภาวนาว่า
“ยากาโรโหติ สัมภะโว” บังเกิดเป็นธา
ปัญจะมัง สิระโลโปจะ (ลบส่วนที่เป็นสิระ) แล้วเขียน
ยะ ลงไป ภาวนาว่า
“ยะกาโรโหติ สัมภะโว” บังเกิดเป็นยะ
สําเร็จเป็น นโมพุทธายะ คือ พระเจ้า ๕ พระองค์นั่นเอง แล้วจึงนมัสการ น
ะโม พุทธายะ ด้วยคาถาดังนี้
"นะกาโรกุกกุสันโธ โมกาโรโกนาคะมะโน
พุทกาโรกัสสะโปพุทโธ
ธากาโรโคตะโมพุทโธ
ยะกาโรอาริยะเมตตัยโย
ปัญจะพุทธา นมามิหัง”
คาถานี้ให้ว่า ๓ ครั้ง
“นะกาโรปะถังมังฌานัง โมกาโรทุติยังฌานัง พุทกาโรตะติยังฌานัง ธากาโรจตุตถังฌานัง ยะกาโรปัญจะมังฌานัง นโมพุทธายะ ลักขะนัง สัพพะพุทเธ เทสิตัง นะกาโร รูปักขันโธ โมกาโรเวทนากขันโธ พุทกาโร สัญญกขันโธ ธากาโรสังขา รักขันโธ ยะกาโรวิญญาณักขันโธ ปัญจะพุทธานะมามิหังนะรานะระหิตังเทวัง นะระเทเวหิปูธิตัง นะรานังกามะปังเกหิ นะมามิสุคะตังชินัง โมหะฆานังปะริธิดัง โมหะมัตตังปะกาสิตัง โมหะสัพพัญญุตะญานัง โมหะ ชิตังนะมามิหังพุทโธพุทธานังพุทธะตัง พุทธัญจะพุทธะภาสิตัง พุทธะตังสุขะ ตังธินัง พุทธะภาสิตัง นะมามิหังธาตานังสัพพะธัมมานัง ธาตุภุตังปะกาสิตัง ธาตานังสัคคะ นิพพานัง ยาตุภูตังนะมามิหัง”คาถานี้ให้ว่า ๓ ครั้ง
ต่อไปให้เริ่มทําตั้งแต่ พินธุ มาจบเป็นนะโมพุทธายะ แล้ว ลบนะโมพุทธายะ เป็น มะ อะ อุ ภาวนา ว่า
“ปะละมัง นะโม โลโปจะ” (ลบนะโมเสีย) มะกาโรโหติสัมภะโว (บังเกิดเป็น มะ คือลบตัว นะโม แล้วเขียนตัวขอมว่า มะ ลงไป)
ทุติยัง พุทธา โลโปจะ (ลบ พุทธา เสีย) อะกาโรโหติสัมภะโว (บังเกิดเป็น อะ คือ ลบ พุทธา แล้วลง อะ ลงไป)
ตติยัง ยะ โลโปจะ (ลบยะเสีย) อุกาโรโหติสัมภะโว (บังเกิดเป็น อุ คือ ลบยะ แล้วลง อุ ลงไป)
เป็นอันว่าได้ มะ อะ อุ จากการลบ นะโมพุทธายะ ซึ่งมีบทเสก นมัสการ มะ อะ อุ ว่า
“มะอะอุ ลักขะณังชาตังมะกาโรพุทธะลักขะณัง อะกาโร ธัมมะลักขะณัง อุกาโรสัง ฆะลักขะณัง อิเจตังระตะนัตตะยัง มะอะอุ เมตตาจะมหาราชา สัพพะสิเนหา จะปูธิโต สัพพะสุขา จะมหาลาภา สัพพะโกรธา วินาสสันติ”คาถานี้ว่า ๓ ครั้ง
“นะมัสสิตวา อิสีสิทธิโลกะนาถัง อิสีสัจจะพันธัง สังคามัง อะหังวันทามิ ตังสะทา ธัมมะเถโร ธัมมะกาโน ธัมมะคะรุตถาคะโต ธัมะทัสสี ธัมมะราชา ธัมมะสามี จะเต นะโม อะระหัง ปูชาสักการัง อะระหังปาเทสุ ปูระเย อะระหัตตะพะ ลัปปัตโต อะระโห นามะจะเต นะโม อุตตะโม จัตตุโร พุทโธ อุตตะโม ธัมมะเทสะ อุตตะโมโมกขะ ตะเทฟัง อุตตะโมตังนะมามิหัง”คาถานี้ ว่า ๓ ครั้ง
คาถาเสกและนมัสการ นโมพุทธายะ กับ มะอะอุ นี้ คัมภีร์โบราณมีตํารับตําราหลายอาจารย์แล้วแต่จะใช้กัน
จากนั้นเป็นการลบ มะอะอุ เป็นองค์ ภควัมบดี โดยภาวนาว่า
“ปถะมัง มะ อัฑฒะโลโปจะ” ลบมะลงเสียครึ่งตัว แล้วว่า “สีสะพุทธาวิธายะเต” คือลบตัวมะเสียครึ่งตัวแล้วเขียนวงกลม บังเกิดเป็นเศียรพระ
ทุติยัง อะ อัฑฒะโลโปจะ ลบอะลงเสียครึ่งตัว แล้วว่า
“องคะพุทธาวิชายะเต” แล้วเขียนวงสองวงใหญ่แทนองค์พระ
ตติยัง อุ อัฑฒะโลโปจะ ลบอุเสียครึ่งตัว แล้วว่า
“ปาทะพุทธา วิชายะเต” แล้วเขียนบาทพระต่อจากองค์พระสําเร็จเป็นองค์พระ ต่อจากนั้นให้ภาวนาว่า
“จตุตถัง มะ เสสะ โลโปจะ” ลบมะที่เหลือครึ่งตัว ที่เหลือจากการลบครั้งแรกแล้วใส่จุดสองจุด
ในวงกลมเศียรพระวงแรกแทนตาพระ พร้อมกับภาวนาว่า “ทะ เวเนตตะ พุทธาวิชายะเต ปัญจะมัง อะเสสะโลโปจะ” ลบ อะ ที่เหลืออีกครึ่งตัวแล้วใส่จุดแทนถันพระทั้งสองข้าง พร้อมกับภาวนาว่า
"ทะเว ถะนะ พุทธา วิชายะเต”ฉัฏฐะมัง อุ เสสะโลโปจะ ลบอุครึ่งตัวที่เหลือจากครั้งแรกให้ขีดเส้นเป็นพระหัตถ์ และพระบาทในวงที่สองคือองค์พระ และเขียนบาทพระในวงที่สาม พร้อมกับภาวนาว่า
“ทะเว หัตถะปาทะพุทธาวิชายะเต สําเร็จเป็นองค์พระภควัมบดี” เมื่อได้องค์พระภควัมบดี แล้วต้องเสกบทนมัสการองค์พระว่า
“ตรีนิอักขะรา ควัมปติ สะจัสสะติ สุคะตังถานัง นะมามิสุคะตะ เถรัง มหาเตชัง มหาตะปัง ผะเลนะ มะเลเต เชนะ โหนตุเมชะ ยะมังคะลัง”ว่าคาถานี้ ๓ ครั้ง แล้วลบองค์พระภควัมบดี เป็นอุณาโลม โดยเสกว่า
“ปะถัง สีสะพุทธา โลโปจะ” ลบวงกลมที่เป็นเศียรพระออกเสีย แล้วเขียน อุ อุณาโลมตัวแรก พร้อมกับภาวนาว่า
"อุณณาโลมา ปัจจุปปันนา วิชายะเต” บังเกิดเป็น อุ อุณาโลม
ทุติยัง องคะพุทธา โลโปจะ ลบองค์พระออกเสีย แล้วเขียน อุ อุณาโลมตัวที่สองพร้อมกับภาวนาว่า
“อุณณาโลมา ปัจจุปปันนา วิชายะเต” บังเกิดเป็น อุ อุณาโลม
ตะติยัง ปาทะพุทธา โลโปจะ ลบบาทพระออกเสีย แล้วเขียน อุ อุณาโลมตัวที่สามพร้อมกับภาวนาว่า
“อุณณาโลมา ปัจจุปปันนา วิชายะเต" บังเกิดเป็น อุ อุณาโลม”
เมื่อได้ อุ อุณาโลม แล้วเสกบทนมัสการ อุ อุณาโลม ว่า
“นมามิ อุณณาโลมัมปิ พุทธะโลมะเสฏจังรูปัง โลกะเสฏฐังจะ สะกะลัง อุณณาโลมัง วันทามิตัง” ภาวนาคาถานี้ ๓ ครั้ง
แล้วลบอุณณาโลมทั้ง ๓ เป็นสูญ ภาวนาว่า
ปะถะมัง ตรีนิอุณณาโลมะโลปัง สูญญะการังโหติ สัมภะวัง บังเกิดเป็นสูญ” แล้วสวด นมัสการสูญ ว่า
“นะมามิ โชติปะระมัตถะสูญยังนะมามิ สูญญัง ประมัตถะเทสัง นะมามิ เทสัง ประมัตถะสูญญัง”ยัง ยัง ปะนะ เทสัง นะมามิ พุทธัง” ว่า ๓ ครั้ง
แล้วลบสูญเป็นมหาสูญ โดยลงสูญอีกชั้นหนึ่งเป็นวงนอก
นมัสการว่า
“ทุติยัง สูญญะ การะโลปัง มหาสูญญะการังโหติ สัมภะวัง” แล้วลบมหาสูญเป็นนิพพานสูญดังนี้
แล้วสวดบทนมัสการว่า
“ตะติยังมหาสูญญะการะโลปัง นิพพานัง ปะระ มังสูญญัง”บทลบเข้าโองการ ดําเนินตามลําดับดังนี้
ลบสูญ เป็นโองการอุทัย ลบโองการอุทัย เป็นโองการมหาไวย ลบโองการมหาไวย เป็นโองการมหาเมฆ ลบโองการมหาเมฆ เป็น โองการมหานิล ลบโองการมหานิล เป็นโองการมหาดํา ลบโองการมหาดํา เป็นโองการมหาคลาด ลบโองการมหาคลาด เป็นโองการมหาแคล้ว ลบโองการมหาแคล้ว เป็นพระจันทร์ข้างขึ้น ลบพระจันทร์ข้างขึ้น เป็นพระจันทร์ข้างแรม ลบพระจันทร์ข้างแรม เป็นพระจันทร์เข้ากลีบเมฆ ลบพระจันทร์เข้ากลีบเมฆ เป็นพระจันทร์ออกจากกลีบเมฆ ลบ พระจันทร์ออกจากกลีบเมฆ เป็นโองการอุมหาอุทัยใหญ่ ลบโองการอุมหาอุทัยใหญ่ เป็นโองการมหาไวย ลบโองการมหาไวย เป็นโองการมหาราพน้อย ลบโองการมหาราพน้อย เป็นองค์มหาราพใหญ่ ลบมหาราพใหญ่ เป็น นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธ ธัสสะ
ต่อจากนั้นดําเนินการเขียนยันต์หรือ นะต่างๆ ตามอุปเท่ห์แล้ว ทําเป็น อิติปิโส จนถึงภควาติ ลบอิสุสวา กลับเป็นอิติปิโส ทําการลบ การเขียนเป็นอนุโลมและปฏิโลมแล้ว ลบอิติปิโสถอยหลังลงเป็นองค์พระ ลบองค์พระทั้ง ๕๖ องค์เป็นสูญ ลบสูญทีละ ๓ สูญเป็นองค์พระ ๒๐ องค์ สูญอิติปิโสสูญหนึ่งๆ นั้นมีรูปดังนี้
ต่อจากนั้นทํา ผงไตรสรณาคมน์ ลบเป็นทุติยัมปิ ตะติยัมปิ สําเร็จเป็น อะสังวิสุโลปุสะพุภะ
แล้วให้ลบต่อไปดุจเดียวกับห้องอิติปิโส แล้วทําผง ก ข ค.
ตําราทําผงปถมัง นี้จัดว่าทําได้ยากมาก เมื่อทําได้จนถึงโองการ อุทัยใหญ่แล้วจะทําต่อออกไปเป็นโองการอื่นๆ แล้วยันต์อื่นๆ อีกได้เช่น นะ เกล็ด ปถมัง เป็นต้น
การเขียน ผงปถมัง อย่างที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็มี กรรมวิธีนั้นก็เป็นธรรมดาต้องกราบไหว้บูชาครูด้วยดอกไม้ธูปเทียน เสร็จแล้วตั้งนโม ๓ จบ กล่าวไตรสรณาคมน์ ๓ ครั้ง แล้วภาวนาคาถาว่าดังนี้
นะโมนะมารา พระสัทธัม ภควา อาคัจฉาหิ ยายานะ นะ พุทธังโจระจิตตัง
พันธะนังภควา โสปิติอิ
และเมื่อเอาดินสอพองจดกระดาษสําหรับเขียนผง ให้ภาวนาคาถา ดังนี้ ๓ ครั้ง
อัมพุทธัง อัมพุททาชายะเต เปสิ เปสิยาชายะเต คะโนคะนา เกษาโลมา นขาปิจะ
แล้วเริ่มเขียนวงกลม ภาวนาว่า
ปถมังกาละลัง กาละละโหติ
ว่าคาถานี้แล้วลบวงกลม แล้วเขียน แล้วว่าคาถาใหม่ ทําอย่างนี้ อยู่ ๘ ครั้ง แล้วลงวงกลมใหม่อีกแล้วว่า
ปถมังกาละลังชาตัง (๓ ครั้ง) แล้วเริ่มลงพินธุ
| ภาวนาว่า ปถมังพินธุกัง ชาตัง ภาวนาว่า ทุติยัง ทัณทะ เมวะจะ ภาวนาว่า ตติยัง เภทะ กัญจเจวะ ภาวนาว่า จตุตถัง อังกุ สัมภะวัง ภาวนาว่า ปัญจะมัง สิระสัง ชาตัง นะกาโรโหติสัมภะโว |
สําเร็จเป็นนะแล้ว นมัสการเสีย ๓ ครั้งว่า
ตรีนิ กัตวา นะการัง ปัญจะ สัมภะวัง
ในขณะที่ชักวงกลมล้อมรอบตัวนะสามเส้นนี้ ภาวนาว่า
นะพุทธัง สรณังคัจฉามิ นะคงคงตรีเพชคงคง
นะธัมมัง สรณังคัจฉามิ นะคงคงตรีเพชคงคง
นะสังฆัง สรณังคัจฉามิ นะคงคงตรีเพชคงคง
เมื่อชักวงกลมล้อมรอบตัวนะ ๓ รอบแล้ว ก็กลั้นใจชักอุณาโลม ให้ได้ ๙ ขมวดที่เรียกว่า นวหรคุณ แล้วภาวนาด้วยว่า อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ
เมื่อได้ นะปะถมัง แล้วให้เสกนะปะถมัง นี้ว่า
อิติปิโส นโมพุทธายะ มะอะอุ เกษาผม โอมคงคง อะสังวิสุโลปุ สะพุภะ ทุสะมะนิ อิกะวิติ เพชกัง สัพพพันธนัง
แล้วเสกให้ครบอาการ ๓๒ โดยเปลี่ยนข้อความ (ที่ขีดเส้น) เป็น นขา, ทันตา, ตะโจ, มังสัง, นะหารู, อัฐ, อัฐิ, มิญชัง, วักกัง, หะทะยัง, ยะกะนัง, กิโลมะกัง, ปิหะกัง, ปัปผาสัง, อันตัง, อันตะคุณัง, อุทะริยัง, กะรีสัง, ปิตตัง, เสมหัง, ปุบโพ, โลหิตัง, เสโท, เมโท, อัสสุวะสา, เขโฬ. สิงฆานิกา, ละสิกา, มุตตัง, มัตถะเก, มัตถะลุง
ตัวคาถานอกนั้นใช้คงเดิม ให้เสกอาการ ๓๒ ให้ได้ครบ ๗ ครั้ง เป็นการดี เสร็จแล้วลบผงเอาไว้ใช้ผงนั้นจะคงกระพันชาตรีประเสริฐนัก คุ้มกันสรรพภัยได้นานาประการ ท่านว่าจะใช้ลงกระหม่อม ลบเอาผงใส่ ในน้ํามันหอม นําผงใส่น้ํามนต์ ถอนกระทํายําผีได้ทั้งสิ้น
ส่วนคาถานมัสการโองการพระปถมังนั้น ตรียัมปวาย ได้เขียนบท สรรเสริญ หรือบทนมัสการไว้ว่า
“โอม โองการพระปถมัง ตั้งแต่เกิดกําหนดมามีศักดาเดโชชัย ย่อมตกลงที่ไหนบรรลัยที่นั่น ดุจดวงพระสุริยันและเมฆฝน ได้แสนโกฏิ อสงไขยย่อมหวั่นไหวไปทั่วทั้งโลกา ฝูงมารภูตทั้งยักษาแลกุมภัณฑ์ เทวดาและครุฑา กลัวศักดาพระพินธุ เธอให้อภัยกู เป็นพระกาฬที่จะประหารอันใดก็ทนไม่ได้ทั่วทุกทิศ กูจะสําแดงฤทธิ์พระพินธุให้สําเร็จเสร็จประสงค์ กูจะบันดาลลงในคงคาฝูงมัจฉาและกุมภีนาคีและมังกร สัตว์ร้ายก็ห่อนเป็นไม่ทานทน พระสมุทรก็หวั่นไหว ให้ร้อนในดังมี จิตจะประสิทธิเป็นฉันใด ก็เป็นไปทุกหนทุกแห่ง จะให้แห้งก็แห้งหาย จะให้มากก็มากมาย เลื่อนไหลมาดังจิตวิญญาณ กูจะบันดาลลงในป่าไม้ ก็ร้อนรุ่ม กลุ่มไปทั่วทั้งไพรพนาวัน ฝูงเทพเทวันพฤกษาเทวดาที่โป่งป่า กล้าก็สิ้นแรงกําลังฤทธิ์ ย่อมมีจิตสโมสร ร้องให้พรเจริญชัยให้เรืองฤทธิไกรแก่กู
เดชะพระบรมครู ให้กูประสิทธิเลิศ บังเกิดเป็นถ้ำมณี มีตะบะ ฤทธิสัตว์ที่มีพิษสะพรึงกลัว ฝูงกายสิทธิ์ย่อมคร้ามกลัว ตัวสั่นระริกวิ่งหมอบคลาน ฝูงภัยพาลไม่ทานทนจะดับลงในดิน สะท้านลิ้นกลัวทั่วจักรวาล กลัวพระโองการไม่ทานฤทธิ์ประสิทธิ์แท้ กูจะแก้ผีภูตพรายทั้งหลายสารพัดพรายทั้งเจ็ดจําพวก อ้ายนี้พวกตัวดีมีพยศ มารยาอย่าอยู่เร่งพากันไปเสียให้ทั่วถ้วนทุกตัวมี อย่าอยู่ที่นี้เร่งหนีไป จงพลันด้วยเดชะพระโองการปฐมตั้งไว้ กูจะปราบฝูงผีทั้งหลาย กูจะปราบลงไปซึ่งน้ำมนต์ถึงกําด้นต้นคอมึง ก็จะงดเดชดิ้นสิ้นชีวามรณา ไม่ทานทนปี้ป่นเป็นผงคลี ด้วยเดชะพระบารมีพระพุทธเจ้าห้าพระองค์
นะ คือ พระกุกกุสันโธ
โม คือ พระโกนาคม
พุท คือ พระกัสสป
ธา คือ พระศรีสากยมุนีโคดมบรมครู
ยะ คือ พระศรีอริยเมตไตรย
ข้าพเจ้าขออาราธนาคุณ พระพุทธองค์เจ้า มาเป็นที่พึ่งแห่งสรรพสัตว์ อันมีข้อข้องขัดอยู่ในกายาโรคาทั้งหลายต่างๆ อ้ายพวกอกุศล เร่งร้นกันไปเสียให้พ้นที่นี้พระศรีสากยมุนี มีพระราชโองการให้กูจับฝูงผี ทั้งหลายเหวยเอ็งอย่าช้า อยู่ที่นี่ขืนขัดพระราชโองการกูจะผลาญถึงเสียให้บรรลัย น้ำพระทัยของพรหมกรุณา มีความเมตตาแห่งสรรพสัตว์ที่มีข้อข้องขัดอันตราย ผีก็อยู่ส่วนผี พรายก็อยู่ส่วนพราย มนุษย์ทั้งหลายก็ อยู่ส่วนมนุษย์ ทั้งนาคครุฑ แลกุมภัณฑ์ ทั้งสรรพสัตว์มากกว่าหมื่นพัน ทั้งนั้นอยู่ให้สบายกันทุกถ้วนหน้า ทรงพระกรุณามิให้ร้อนรนแก่ตัวตน ถ้วนทั่วทุกตัวสัตว์อย่าขึ้นขัดอัธยา พระมหากรุณาท่านปรานี แม้ถึงขืนขัดพระพุทธโอวาทพระศาสดา กูจะอาราธนาพระพุทธเจ้าท่านมา ขับถึงให้บรรลัยไปบัดเดี๋ยวนี้ คือ พุทธัง ปัจจักขา ขับธัมมัง ปัจจักขา ขับสังฆัง ปัจจักขา ขับระงับมันเสียให้สูญหายละลายไปบัดเดี๋ยวนี้
พุทธัง ให้มันละลายหายสูญไปบัดเดี๋ยวนี้
ธัมมัง ให้มันละลายหายสูญไปบัดเดี๋ยวนี้
สังฆัง ให้มันละลายหายสูญไปบัดเดี๋ยวนี้
ยังมีพวกหนึ่งว่า พวกคุณพวกไสย ลมเพลมพัด คุณเนื้อ คุณหนัง คุณแมว คุณหมู คุณปู คุณปลา คุณทั้ง ๑๒ ภาษา สารพัดคุณทั้งหลาย ต่างๆ นานา ทั้งคุณตะกั่วแลทองสําริดขอมไทย คุณไม้ไผ่ผูกแยก ข้าพเจ้าขออาราธนา พระพุทธเจ้าทั้ง ๒๘ พระองค์ จงมาช่วยทุกข์ร้อน แห่งสรรพสัตว์อันข้องขัดอยู่ในกาย”
บางตํารา นิยมรจนาส่งท้ายด้วยบท “นโมเม สรรพพุทธานัง ตัณหังกาโร” หรือบทสวดพระปริตชื่ออาฏานาฏิยปริต เป็นการจบการ ทําผงปถมัง และบทนมัสการ
เมื่อได้ผงปถมังแล้ว ยังมีผงสําคัญที่มีความสําคัญหรือเป็นส่วนผสมในองค์พระสมเด็จให้เกิดกฤตยาคุณอันสูงยิ่งอีก คือ ผงอิธะเจ
การเรียนทําผงนั้น ผู้บวชเรียนจะต้องเรียนสมถกรรมฐาน ซึ่งมี ถึง ๔๐ ทาง โบราณอาจารย์ได้กล่าวว่า
การฝึกจิตด้วยการเขียนอักขระเลขยันต์ หรือลบผงเขียนสูตรสนธิ ต่างๆ เหล่านี้ ทําให้จิตตั้งมั่นมีสมาธิได้อย่างแน่วแน่ เมื่อจําบทพระ พุทธคุณได้แม่นยําแล้ว จะไม่ยากและในการเขียนผงลบผงนั้นมีจุดรวม อยู่ที่สูญนิพพานทั้งสิ้น