ธรรมปัญญาสมเด็จโต - ๑๐. พระคาถาชินบัญชรและคำแปล

ธรรมปัญญาสมเด็จโต - ๑๐. พระคาถาชินบัญชรและคำแปล

พระคาถาชินบัญชร

ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.

หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว


กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.

เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง

ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

ขอให้พระพุทธนราสภจอมมุนินายกทั้ง ๒๘ พระองค์ พุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกรเป็นอาทิ (๒) บรรดาที่ประทับ อาสนะชัยทรงชนะมารพร้อมด้วยพาหนะ ได้ดื่มรสคือขต อันประเสริฐ จงมาประดิษฐานอยู่ ณ เบื้องกระหม่อมของข้าพเจ้า

ขอให้พระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่ง ข้าพเจ้า

ขอให้พระธรรม จงมาประดิษฐานอยู่เหนือศีรษะเกล้าแห่ง ข้าพเจ้า

ขอให้พระสงฆ์บ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งปวง จงมาประดิษฐาน อยู่ที่อุระแห่งข้าพเจ้า

ขอให้พระอนุรุทเถระ จงมาประดิษฐานอยู่ที่ดวงหทัย แห่ง ข้าพเจ้า พระสารีบุตรจงมาประดิษฐานอยู่ ณ เบื้องขวา พระ โภญทัญญะจงมาอยู่ ณ เบื้องหลัง และพระโมคคัลลานะจงมาอยู่ ณ ส่วนเบื้องซ้าย

ขอให้พระอานนท์และพระราหุลจงอยู่ ณ โสตเบื้องขวา พระ กัสสปและพระมหานามทั้งสององค์ จงอยู่ ณ โสตเบื้องซ้าย

ขอให้พระโสภิตจอมมุนี ทรงสมบูรณ์ด้วยสิริความสว่าง (แก่ ประชาชน) ประดุจดวงอาทิตย์ จงสถิตนั่ง ณ ส่วนเบื้องหลังตั้งแต่ริมผมขึ้นไป (แห่งข้าพเจ้า)

ขอให้พระกุมารกัสสปเถร ผู้มีวาทะอันไพจิตรเป็นบ่อเกิดแห่ง ความดีอันยิ่งใหญ่ จงมาประดิษฐานอยู่ที่ปาก (วทเน) แห่งข้าพเจ้า เป็นเนืองนิตย์

ขอให้พระเถระ คือพระปุณณะ พระองคลื่มาล พระอุบาลี พระนันทะและพระสิวลี

ละพระสิวลี ๕ องค์นี้จงเกิดเป็นประดุจต่อมไฝหรือรอยเจิมที่นลาฏ (หน้าผาก) แห่งข้าพเจ้า

ขอให้พระอพีติมหาเถระชินสาวก ชิโนโรส ผู้พิชิตชําระมาร โรจน์อยู่ด้วยเดชแห่งศีลนอกจากนั้น จงมาสถิตอยู่ที่อวัยวะน้อยใหญ่ (แห่งข้าพเจ้า)

ขอพระรัตนสูตรจงอยู่ข้างหน้าเมตตาสูตรจงอยู่ข้างขวา ธชัคคสูตรจงอยู่ข้างหลัง องคุลิมาลสูตรจงอยู่ข้างซ้าย ขันธปริตร โมรพริตรและอาฏานาฏิยสูตร จงเป็นเพดานกางกันในอากาศ ขอบรรดาพระสูตรอันประเสริฐต่างๆ ของพระชนะนอกจากนั้น จงตั้งเป็นประดุจกําแพงล้อมไว้ ๗

เมื่อข้าพเจ้ายังดําเนินกิจของตนอยู่ (เข้าใจว่าบวชอยู่) ในธรรมวินัยอันเป็นระบบแห่งพระสัมมาสัมพุทธะ ขอให้บรรดาอุปัทวันตรายทั้งภายนอกและภายในวันเกิดแก่ลมร้ายและศัตรูเป็น อาทิ จงถึงความย่อยยับไปด้วยเดชแห่งพระชินมุนี้อันหาที่สุดมิได้ โดยไม่เหลือในกาลทุกเมื่อ

ขอให้พระพุทธองค์ผู้เป็นพระมหาบุรุษอันประเสริฐทั้งมวลนั้น จงช่วยคุ้มครองป้องกันข้าพเจ้าผู้ยังอยู่ ณ ท่ามกลางแห่งพระธรรมวินัยเป็นระบบพระชินมุนี ณ พื้นปฐพีทุกเมื่อเทอญ

ข้าพเจ้าซึ่งพระมหาบุรุษเหล่านั้นคุ้มครองรักษาดีแล้วในภายใน เป็นอันชนะแล้วซึ่งอุปัทวะภัยด้วยชินานุภาพชนะแล้วซึ่งข้าศึกคือ กิเลส (เครื่องของ) ด้วยธรรมมานุภาพ ชนะแล้วซึ่งอันตรายด้วย สังฆานุภาพ อันอานุภาพแห่งพระสัทธรรมคุ้มครองแล้ว อยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ในระบบของพระชินพุทธเจ้าแลฯ

ในหนังสือ “คัมภีร์พุทธมนต์โอสถ” รวบรวมโดยนายเทพย์ สาริกบุตร พรรณนาคุณานุภาพแห่ง “ชินปญชรคาถา” ไว้ดังนี้

“พระคาถาชินปัญชรของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มีคุณานุภาพมากมาย ผู้ใดได้จําเริญภาวนาไว้ เสมอจะเจริญด้วยลาภยศ ชนมายุยืนยาวปราศจากภัยอันตรายทั้งปวง ใช้เสกน้ํามนต์รดแก้สรรพทุกข์โศกโรคภัย ไม่ว่าจะถูกกระทําคุณไสยคุณผีคุณคนทั้งปวง ได้หายสิ้นรดแก้ไขเรื้อรัง แก้โรควิกลจริต แก้อวมงคลนิมิตได้ทุกประการ ตามแต่จะปรารถนาใช้ได้ทั้งนั้น ใช้ปลุกเสกเครื่องรางของคลัง พระเครื่อง เพิ่มอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ขึ้นแล”

มีคาถาอีกบทหนึ่ง ว่าเป็น “คาถาบูชาพระสมเด็จ” คือ


คาถาบูชาพระสมเด็จ

ปุตฺตกาโม ลเภ ปุตตํ ธนกาโม ลเภ ธนํ อตฺถิ กาเย กายญาย เทวานํ ปิยตํ สุตวาฯ

คำแปลคาถาบูชาพระสมเด็จ

ผู้ใคร่ได้บุตรพึ่งได้บุตร ผู้ใคร่ในทรัพย์จึงได้ทรัพย์ บัณฑิตฟังแล้วว่า ความเป็นผู้ที่เป็นที่รักแห่งเทวาทั้งหลาย มีอยู่ในกาย เพราะรู้ได้ที่กาย (ของตนเอง) ฯ

ในหนังสือเทศนา ๑๒ นักษัตรหง พิมพ์เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๗๘ ตอนน ความตอนนั้นมาลงไว้ดังนี้

“เมื่อใช้พระสมเด็จพึ่งทําดังนี้ ตั้งนะโม ๓ หน ว่า เสรณคมน์) พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ฯลฯ ตติยมฺปิ สังฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ (ตั้งจิตระลึกถึงเจ้าคุณสมเด็จฯ แล้วว่า อิติปิโส ภควา ยมราชโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณสุขํ อรหํ สุคโต นโม พุทฺธยา จะเพิ่มความขลังศักดิ์สิทธิ์ขึ้นแล”

พระคาถาชินบัญชรของเจ้าพระคุณสมเด็จพระ พุฒาจารย์โต มีคุณานุภาพมากมาย ผู้ใดได้เจริญ ภาวนาไว้เสมอ จะเจริญด้วยลาภยศ เจริญชนมายุ ยืนยาวปราศจากภัยอันตรายทั้งปวง ใช้เสกน้ํามนต์ รดแก้สรรพทุกข์โศกโรคภัย ไม่ว่าจะถูกกระทําคุณไสย คุณผีคุณคนทั้งปวง แก้ได้หายสิ้น รดแก้ไข้เรื้อรัง แก้โรควิกลจริต แก้อวมงคลนิมิตได้ทุกประการ ตามแต่จะปรารถนาใช้ได้ทั้งนั้น ใช้ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง พระเครื่องเพิ่มอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ขึ้นแล

อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร

คําแปลย่อพระคาถาชินบัญชร

พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด ผู้ไม่ต้องทําสายธนูและลูกศรก็ทรงชนะมารพร้อมทั้งพาหนะ ทรงเป็นผู้เลิศในนรชน ทรงดื่มรสสัจจะ ๔ อันเลิศฯ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ๒๘ องค์ มีพระตัณหังกระ เป็นต้น เป็นพระมุนีเจ้าผู้นําโลกทุกพระองค์ ประดิษฐานอยู่บนกระหม่อมของ ข้าพเจ้าฯ พระพุทธองค์ทรงประดิษฐานอยู่ที่ศีรษะของข้าพเจ้าฯ พระธรรมเจ้าประดิษฐานอยู่ที่ตาทั้งสองฯ พระสงฆเจ้าผู้เป็นอากรแห่งคุณทั้งปวง ประดิษฐานอยู่ที่อุระประเทศของข้าพเจ้าฯ พระอนุรุทธะประดิษฐานอยู่ที่หทัยฯ พระสารีบุตรประดิษฐานอยู่ ณ เบื้องขวาฯ พระโกณฑัญญะประดิษฐานอยู่ ณ เบื้องหลังฯ พระโมคคัลลานะประดิษฐานอยู่ ณ เบื้องซ้ายฯ พระอานนท์ และพระราหุลประดิษฐานอยู่ ณ หูขวาของข้าพเจ้าฯ พระกัสสปและพระมหานามะทั้งสองประดิษฐานอยู่ ณ หูซ้ายฯ พระโสภิตะผู้ถึงพร้อมพระสิริเป็นพระมุนี้ผู้ประเสริฐเพียงดังดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างประทับ ณ ที่สุดผมส่วนเบื้องหลัง พระกุมารกัสสปเถระ ผู้กล่าวคําอันวิจิตรเป็นบ่อเกิดแห่งคุณนั้นประดิษฐานที่ปากของข้าพเจ้าเป็นนิตย์ฯ พระเถระ ๕ พระองค์ ผู้มีคุณเด่นเหล่านี้ คือ พระปุณณะ ๑ พระองคุลีมาล ๑ พระอุบาลี ๑ พระอานันทะ ๑ พระสิวลี ๑ อยู่ที่หน้าผากของข้าพเจ้าฯ พระมหาเถระแปดสิบพระองค์ที่เหลือผู้ชนะ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ชนะรุ่งเรืองอยู่ด้วยเดช คือ ศีลสถิตอยู่ที่ ณ อวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลาย พระรัตนะปริตรอยู่เบื้องหน้าฯ พระองคุลีมาล ปริตรอยู่เบื้องซ้ายฯ พระธัคคปริตรอยู่เบื้องหลังฯ พระเมตตาสุตตปริตรอยู่เบื้องขวา พระขันธปริตร พระโมระปริตร พระอาฏานาฏิยสุตตปริตร เป็นหลังคาเครื่องปิดกั้นในอากาศฯ พระปริตรที่เหลือนั้นเป็นกําแพงฯ ผู้ชนะทั้งหลาย ผู้ประกอบพร้อมด้วย กําลังต่างๆ ประกอบเป็นกําแพง เจ็ดชั้นฯ อาพาธทั้งหลายเกิดจากลมและดีกําเริบเป็นต้น อุปัทวะภายนอก ภายใน จงถึงความพินาศไปไม่เหลือ ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า ผู้ชนะ ไม่มีที่สิ้นสุด

เมื่อข้าพเจ้ากล่าวบัญชรช่องพระสัมพุทธเจ้าตามกิจของตนอยู่ทุกเมื่อ ขอพระพุทธเจ้าผู้มหาบุรุษประเสริฐเหล่านั้นทั้งหมดจงอภิบาล รักษาข้าพเจ้าอยู่ในท่ามกลางแห่งบัญชร คือ วงเขตอันกว้างใหญ่ไพศาล เพียงดังพื้นแผ่นดินทุกเมื่อ

พระชินบัญชรมนต์คุ้มครองดี รักษาดี ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้า เป็นผู้ชนะอุปัทวะด้วยอานุภาพแห่งพระสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ชนะแห่งข้าศึกด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมเจ้า เป็นผู้ชนะอันตรายด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆเจ้า เป็นผู้อันอานุภาพแห่งพระธรรมอภิบาลรักษาแล้ว ประพฤติอยู่เทอญฯ

หมายเหตุ นอกจากพระรัตนตรัย ยังมีพระตัณหังกร พระอนุรุทธะ พระสารีบุตร พระโกณฑัญญะ พระโมคคัลลานะ พระอานนท์ พระราหุล พระกัสสปะ พระมหานามะ พระโสภิตะ พระปุณณะ พระองคลีมาล พระอุบาลี พระนันทะ พระสิวลี พระรัตนปริตร พระขันธปริตร พระโมระปริตร พระอาฏานาฏิยสุตตปริตร พระมุนี้ฤาษี ทั้งหลาย ทั้งปวงที่เชี่ยวชาญด้วยพระเวท

พระสาวกของพระพุทธเจ้าที่กล่าวมาแล้วนี้ล้วนแต่เป็น “พระอรหันต์” ซึ่งตบะเดชฤทธานุภาพสามารถที่จะทรมานสัตว์ และมนุษย์ที่มีพาลสันดานหยาบให้สํานึกในพระไตรสรณคมน์และบางพระองค์ มีอานุภาพในทางเมตตามหานิยม ทรงบันดาลใจให้ปราศจากโรคภัยด้วยโภคทรัพย์ บางพระองค์มีพระสรีระอันสิริโฉมโน้มน้าวจิตใจผู้กราบไหว้บูชาให้มีจิตเสน่หารักใคร่ บางพระองค์มีพระสรีระร่างอันแข็งแรง อดทนคงกระพันชาตรี เป็นที่เกรงขามระย่นย่อต่อศัตรู บางพระองค์มีความกตัญญูกตเวทิตาธรรมเป็นยอดเยี่ยม พระอรหันต์เหล่านี้ ย่อมมีอานุภาพต่างๆ กันในพระองค์เอง และเมื่อทูลอัญเชิญมาประดิษฐานในตัวของท่านผู้ใดแล้วผู้นั้นก็จะได้รับอานุภาพต่างๆ ตามที่พระองค์มีอยู่ คําแปลในพระคาถาชินบัญชรนี้ ปรากฏว่าได้อัญเชิญพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งปวงเข้าประดิษฐานอยู่ประจําตัวเราทุกส่วน ทั้งได้เชิญให้มารักษาอยู่รอบกาย จึงเป็นเสมือนกําแพงแก้วเจ็ดชั้น ซึ่งคอยกําจัด ปัดเป่าและกันศัตรูหมู่ปัจจามิตรมิให้เข้ามาใกล้กรายและทําอันตรายได้ ท่านผู้ใดมีพระพิมพ์สมเด็จติดตัวไว้ และเจริญพระคาถาชินบัญชรนี้ จะบังเกิดอภินิหาร บังเกิดเมตตามหานิยมในที่ต่างๆ บําบัดโรคภัยไข้เจ็บทุกอย่าง บันดาลให้เกิดเสน่หาป้องกันให้แคล้วคลาดสรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย สรรพอันตรายกันและแก้กฤตยาคุณ คุณไสยศาสตร์ และคุณภูมิผีปีศาจทั้งมวล และสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคารทั้งปวง

พระคาถาอันวิเศษนี้ เป็นคาถาที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังได้ใช้อยู่เป็นประจําตลอดพระชนมายุของท่าน จนเรียกกันเป็นที่ติดปากว่า “พระคาถาชินบัญชร ของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง แท้ที่จริงพระคาถานี้ได้มานานแล้ว เท่าที่ค้นพบมีอยู่ในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราชสมัยอยุธยา พระคาถานี้ผู้ใดพยายามท่องให้จําได้ และหมั่นสวดมนต์จําเริญภาวนาอยู่เสมอๆ อย่างน้อยให้ได้วันละ ๑ จบ จะบังเกิดลาภ ยศ สรรเสริญ และเจริญพระชนมายุสําเร็จในสิ่งอันพึ่ง ปรารถนาที่ชอบธรรม สรรพศัตรูทั้งหลายแพ้พ่ายกลายเป็นมิตรสรรพ อันตรายทั่วทิศแคล้วคลาด ปราศจากภัยพิบัติ แก้คุณไสยศาสตร์การกระทําทั้งสิ้น แก้สิ่งชั่วร้ายกลายเป็นดี ถ้ายิ่งหมั่นมีความอุตสาหะบริกรรม ปลุกเสกพระเครื่องรางของขลังอยู่เป็นนิตย์ จักเพิ่มพูนอานุภาพอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ยิ่งๆ ขึ้น

อ่านต่อ>>


** หนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ชุดนี้ เขียนโดย อ. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เว็ปไซต์นี้จัดทำเพื่อการศึกษา ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้