ธรรมปัญญาสมเด็จโต - ๙. อัศจรรย์พระคาถาชินบัญชร

ธรรมปัญญาสมเด็จโต - ๙. อัศจรรย์พระคาถาชินบัญชร

อัศจรรย์พระคาถาชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชรบทนี้เป็นบทสวดสรรเสริญพระอรหันต์ ๘๐ องค์ โดยสวดอัญเชิญให้พระอรหันต์นั้นมาสิงสถิตอยู่ในตัวมนุษย์ สถิตที่หู สถิตที่จมูก สถิตที่ลิ้น สถิตที่ผม และส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นต้น เรียกได้ว่าเป็นพระคาถากําแพงแก้ว ๗ ชั้น สําหรับปกป้อง คุ้มครองตัวมนุษย์

แต่ต้องไม่อยู่เหนือกฎแห่งกรรม ในโลกนี้อิทธิพลแพ้อิทธิฤทธิ์ อิทธิฤทธิ์แพ้บุญฤทธิ์ บุญฤทธิ์แพ้กรรมวิบากฤทธิ์กรรมลิขิต ดังนั้น กฎแห่งกรรม ผู้ทําชั่วมามากเกิดในชาติมนุษย์ปัจจุบันจึงเป็นวิบากกรรม ในอดีต ถ้าอดีตชาตินั้นไม่ได้สร้างกรรมหนัก เช่น ฆ่าคน ทําลายคน สร้างแต่ศีล ปฏิบัติธรรม ทําสมาธิ ให้เกิดบุญกุศลหรือทําแต่ความดี

การสวดพระคาถาชินบัญชรทุกวันย่อมนําความเจริญยิ่งให้กับผู้นําไปปฏิบัติให้เกิดความสําเร็จ

พระคาถานี้อย่างน้อยทําให้กรรมวิบากนั้นได้ถูกใช้กรรมและผ่อนกรรมวิบากหนัก - เบาด้วยกําแพงแก้ว ๗ ชั้นป้องกันตนแล้วยังได้แผ่ธรรมปัญญาไปยัง ผีเรือน ผีบ้าน รุกขเทวดา และเชื้อเชิญให้ผู้ศักดิ์สิทธิ์มารับฟังพระคาถานี้ด้วย

การสวดพระคาถาชินบัญชรนั้นได้สร้างธรรมปัญญาให้ค้าขายทํามา หากินในทางสุจริต พบแต่มิตรไมตรีที่ดีงาม ดังนั้นเมื่อสวดแล้วใส่บาตร ทําบุญจึงเป็นคุณให้จิตงดงามมากขึ้น

ความเจริญรุ่งเรืองนั้นย่อมเกิดกับผู้ที่มีจิตงดงามและเข้าใจในธรรมปัญญา ยกเว้นผู้ที่มีวิบากกรรมหนักและสร้างกรรมเพิ่มขึ้นใหม่

พระคาถาชินบัญชรนี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีได้รจนาขึ้นใหม่จากพระคัมภีร์เดิมที่พบจากกรุโบราณในเมืองกําแพงเพชรเป็นการระลึกถึงพระชินนะบัญจะระ ซึ่งสถิตอยู่ชั้นพรหมรูป มีตําแหน่งเป็นท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ ดังมีตํานานเล่าไว้ดังนี้

ในพุทธกาลนั้น เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคดม ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้ทรงมีอัครสาวกเบื้องซ้ายและอัครสาวกเบื้องขวา คือ พระโมคคัลลานะ ผู้เป็นเลิศทางอิทธิฤทธิ์ และพระสารีบุตรผู้เป็นเลิศทางปัญญา

ที่แคว้นพาราณสีนั้น ได้มีเด็กน้อยผู้หนึ่งนามว่า ชินนะ บุตรของ มะติโตพราหมณ์ และนางยะถานา พราหมณ์ ซึ่งเป็นโคตรบัญจะระ (อยู่ในสกุลบัญจะระ)

ชินนะ ผู้นี้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้ามาแต่ครั้งเยาว์วัย จึงได้ขอบรรพชาเป็นสามเณร และเป็นศิษย์ของพระโมคคัลลานะ

สามเณรชินนะ เป็นผู้มีภูมิปัญญาเฉลียวฉลาดเป็นยิ่ง มีศรัทธาเป็นที่สุด โดยแสดงอาการบิณฑบาตอย่างสงบและมีความขยันหมั่นเพียรเป็นนิจ สามเณรชินนะอายุได้เพียง ๗ ขวบจึงสําเร็จเป็นอรหันต์ สามเณร ชินนะ บัญจะระ เป็นผู้มีรูปงาม เสียงไพเราะ รู้พิธีรักษาระเบียบ มีความ รอบคอบและสะอาด ทําให้ดํารงตนอยู่ในศีลาจารวัตรอันงดงาม

ครั้นย่างเข้าสู่วัยหนุ่ม พระชินนะ บัญจะระ มีรูปร่างสวยงดงาม ผิวขาวละเอียดประดุจหยก ใบหน้าแดงระเรื่อสีชมพู คิ้วโก่งทั้งคันศรไว้ เกษาเกล้าจุก เวลาเยื้องย่างดูสง่างามประดุจราชสีห์ ด้วยเหตุที่พระชินนะ บัญจะระมีรูปงามเป็นที่ต้องตาต้องใจของสตรีเพศนี้ จึงมีสตรีพากันหลงใหลในตัวของพระชินนะ บัญจะระอย่างมาก แต่พระชินนะ บัญจะระ นั้นได้ยึดพรหมจรรย์เป็นสรณะอย่างมั่นคงจึงมีแต่ความสงบนิ่ง

วันหนึ่งขณะที่พระชินนะ บัญจะระออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ได้มีสตรีผู้หนึ่งซึ่งแอบหลงรักอยู่นางเดียวนั้น มิอาจยับยั้งอดใจเอาไว้ได้ จึงเข้าโผผวากอดพระชินนะ บัญจะระอย่างลืมตัว

เมื่อพระชินนะ บัญจะระเห็นอาการของสตรีนั้นกระทําแก่ท่านดังนี้ ก็บังเกิดความสังเวชอย่างใหญ่หลวง อันพรหมจรรย์ของท่านต้องแปดเปื้อนความบริสุทธิ์เสียดังนี้

ด้วยความยึดมั่นแต่พรหมจรรย์ของพระชินนะ บัญจะระต้องมาสิ้นสุดลงนั้น ทําให้พระชินนะ บัญจะระดําริขึ้นว่า “ตัวเรานี้มีรูปงามเช่นนี้ ย่อมก่อให้เกิดอกุศลกรรมแก่อิตถีเพศ เป็นการสร้างบาปให้เกิดขึ้นด้วยมี กายรูปนี้เป็นเหตุ จะมีสักเท่าใดกันหนอ ที่ปรารถนาล่วงพรหมจรรย์ของ เราเช่นสตรีผู้นี้”

พระชินนะ บัญจะระคิดดังนี้ ก็เห็นเหตุของกายที่ทําให้พรหมจรรย์ สิ้นสลายลง กายก่ออกุศลจิตให้เกิดเป็นบาปต่ออิตถีเพศผู้มัวเมาในรูปกาย พระชินนะ ปัญจะระจึงถอดกายทิพย์ออกจากร่าง ทิ้งสังขารไว้เมื่อยังไม่ถึงกาลจะสิ้นชีวิต ขณะนั้นพระชินนะ ปัญจะระมีอายุเพียง ๒๓ ปี ๖ เดือน

กายทิพย์ของพระชินนะ บัญจะระ จึงขึ้นไปได้เพียงชั้นพรหมโลกเท่านั้น

แต่ด้วยเหตุที่พระชินนะ บัญจะระนั้นเป็นผู้รอบรู้พิธีการต่างๆ ทาง โลกวิญญาณ จึงสามารถสวดพระคาถาคลายพระเวทได้เป็นเยี่ยม ดังนั้น เมื่อพระชินนะ บัญจะระสวดพระคาถาไม่ว่าจะอยู่บนโลกหรือบนสวรรค์ชั้นใด เสียงของพระชินนะ บัญจะระก็จะก้องกังวานไปทั่วทั้งนรกภูมิ และสวรรค์ภูมิ รวม ๓๓ ชั้น

พระพรหมเทพได้ยินพระคาถาแล้วเกิดสะเทือนจิตออกจากสมาบัติหมดสิ้น โดยเสด็จลงมารับทราบพิธีการที่พระชินนะ บัญจะระ ทําพิธีสวดขึ้น

พระชินนะ บัญจะระ นั้นมีกายละเอียดสถิตอยู่ในชั้นพรหม จึงเป็น ท้าวมหาพรหมชินนะ บัญจะระ

ขณะนี้พระชินนะ บัญจะระจึงเป็นใหญ่ในชั้นของพรหมรูป ควบคุมวิมานพรหม ๑๖ ชั้น สาเหตุที่พระชินนะ บัญจะระไม่สามารถขึ้นไปสถิตในแดนอรหันต์ได้นั้น ก็เนื่องจากสตรีเพศเป็นผู้ทําลายความ บริสุทธิ์ (พรหมจรรย์) เสียก่อน จึงทําให้พระชินนะ บัญจะระต้องละสังขารเสียก่อนถึงกาลเวลาแห่งอายุ และเป็นเหตุให้พระชินนะ ปัญจะระมีกําลังบุญอยู่เพียงชั้นพรหมรูป

ด้วยเหตุนี้พระชินนะ บัญจะระจึงต้องสร้างบุญในโลกมนุษย์เพื่อส่งธรรมปัญญาให้นํากายทิพย์ของท่านขึ้นไปสู่แดนอรหันต์ให้ได้

พระคาถาชินบัญชร จึงเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ภาวนาเป็นประจําอยู่เสมอเป็นนิจ จึงก่อให้เกิดผลดีแก่ผู้ที่ภาวนาด้วยพระชินนะบัญจะระ เป็นท้าวมหาพรหมชินนะ บัญจะระนั้น ย่อมที่จะได้ยินและแผ่ธรรมปัญญา บารมีตลอดจนฤทธิ์อํานาจลงมาช่วยเหลือมนุษย์ในโลกได้ ซึ่งปรากฏว่า เพราะคาถาชินบัญชรนี้ทําให้ทุกคนประสบความสําเร็จได้ตามที่หวังตั้งใจ

ต้องอย่าลืมว่า พระชินนะ ปัญจะระ นั้น เป็นบุตรของพราหมณ์ ที่ศรัทธานับถือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีคุณวิเศษทั้งฝ่ายพราหมณ์และพุทธศาสนา เป็นผู้รักษาพรหมจรรย์มากกว่าชีวิต จึงสามารถถอดกายทิพย์ทิ้งร่างขึ้นไปพรหมโลกได้ มีตําแหน่งเป็นท้าวมหาพรหมชินนะ บัญจะระที่คอยช่วยเหลือมวลมนุษยโลก

การที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้อัญเชิญพระคาถาชินบัญชร มาใช้เป็นบทสวดในพิธีการปลุกเสกพระเครื่อง คือพระสมเด็จนั้น ด้วยอํานาจแห่งมนต์คาถานั้นจึงทําให้วัตถุมงคลหรือพระสมเด็จของ สมเด็จโตมีพุทธานุภาพสูง และมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ตลอดกาล

พระคาถาชินบัญชร จึงเป็นบทสวดที่เป็นพรหมปัญญา หากศึกษาคําแปลและนําหลักธรรมไปเป็นข้อปฏิบัติแล้วย่อมเกิดธรรมปัญญาสมาธิ ย่อมเกิดคุณวิเศษได้ด้วยจิตที่ปรารถนาในพรหมปัญญา ด้วยพระบารมีของท้าวมหาพรหมชินนะ บัญจะระ หรือชินบัญชร (จะแผลงเป็น ชะ จึง ใช้คํา ชินบัญชร) นั้นจะรู้สึกได้ว่า การขอให้พระอรหันต์ทั้ง ๘๐ องค์นั้นมาสถิตที่อวัยวะน้อยใหญ่ประดุจกําแพงแก้ว ๗ ชั้น โดย “ขอให้พระพุทธองค์ ผู้เป็นมหาบุรุษอันประเสริฐทั้งมวลนั้นจงช่วยคุ้มครองป้องกันข้าพเจ้า ผู้ยังอยู่ ณ ท่ามกลางแห่งธรรมวินัยเป็นระบบพระชินมุนี ณ พื้นปฐพี ทุกเมื่อเทอญ”

จึงบังเกิดเป็นอานุภาพแห่งพระสัทธรรมคุ้มครอง ด้วยการยึดถือพรหมจรรย์ในระบบของพระชินพุทธเจ้า อันมี เมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา เป็นหลักธรรมปฏิบัตินั้นเอง

ชื่อสมเด็จโตท่องบ่นจนแม่นยําดีแล้ว ในงานพระราชพิธีหนึ่ง สมเด็จโตได้เจริญพระคาถาชินบัญชรถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เมื่อพระองค์สดับแล้วชอบพระทัย ตรัสถามว่า “พระคาถานี้ดี สีต้นเอามาจากไหน”

สมเด็จโตได้ถวายวิสัชนาว่า “ถวายพระพรมหาบพิตร พระคาถาบทนี้ อาตมาเก็บความจากคัมภีร์โบราณผูกหนึ่ง ซึ่งได้จากลังกาประเทศ พระคาถาบทนี้มีคุณานุภาพมากมาย ผู้ใดได้จําเริญภาวนาไว้เสมอจะเจริญ ด้วยลาภยศ เจริญชนมายุยืนยาวปราศจากภัยอันตรายทั้งปวง”

ตั้งแต่วันนั้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชกระแส รับสั่งให้เจ้าจอมหม่อมห้าม และเหล่าข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิดพระยุคลบาท เจริญภาวนาพระคาถาบทนี้

ด้วยเหตุนี้พระพุทธรูปที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระพุทธชินมุนี พระศรีศาสดา พระศรีศากยะ ที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย จึงบอกนัยแห่งความศรัทธาของพระชินนะ บัญจะระมามากกว่า ๗๐๐ ปี

อ่านต่อ>>


** หนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ชุดนี้ เขียนโดย อ. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เว็ปไซต์นี้จัดทำเพื่อการศึกษา ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้