สมเด็จโต เป็นพระเถระที่มีชีวิตอยู่มา ๕ รัชกาล แม้จะเป็นชาวบ้านธรรมดา แต่สามารถเป็นบุคคลอัจฉริยะที่เป็นภูมิปัญธรรม โดยได้รับการอุปถัมภ์ค้ําชูมาโดยตลอดตั้งแต่บรรพชา ไม่เคยยุ่งเกี่ยวทางด้านโลกียะ ไม่ชอบพอในสตรีหรือเสียพรหมจรรย์กับหญิงใดมาก่อนเลย เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จึงใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก หาเหตุผล ชอบคิดวิเคราะห์จนทําให้สติปัญญาแตกฉาน
เมื่อมีอายุครบบวชได้อุปสมบทเป็นพระและเป็นนาคหลวง ด้วยเป็นพระที่ชอบพอรักใคร่ของผู้หลักผู้ใหญ่จนถึงกษัตริย์ ในครั้งแรกท่านได้ออกธุดงค์ไปที่ต่างๆ ตามนิสัยที่ชอบค้นคว้าหาความรู้ จึงมุ่งศึกษาหาอาจารย์ต่างๆ ที่คงแก่เรียนทางวิปัสสนากรรมฐานสมถะและหาเกจิอาจารย์สําคัญโดยออกเดินธุดงค์ไปในป่าดงที่ห่างไกล เมื่อเป็นพระธรรมดานั้นด้วยความแตกฉานด้านพระไตรปิฎก ท่านรู้อย่างดีจิตใจจึง มุ่งแต่บูชาพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ทําให้ท่านเริ่มสร้างพระขึ้นจากครูบาอาจารย์ที่ประศาสน์วิชาความรู้ให้ จึงมีพระเครื่องที่สร้างขึ้นตามใจของท่านรูปแบบพิมพ์พระสมเด็จที่สร้างครั้งแรกนั้นไม่มีรูปทรงแน่นอน ขึ้นอยู่ว่าจะปั้นรูปอย่างไร เป็นลักษณะคดหอยคือ จับผงมาปั้นเป็นก้อนๆ ยาวๆ แล้วก็วนเป็นคดหอยปลุกเสกแจกชาวบ้าน บางพิมพ์เป็นรูปปูก็มี เป็นรูปต่างๆ ก็มี
แสดงว่าสมเด็จโตนั้นสร้างพระสมเด็จตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นพระธรรมดาที่รู้จักกันในนามมหาโต ดังนั้นจึงมีวัดหลายวัดที่ท่านได้จําพรรษาและเกี่ยวข้องสําหรับวัดสําคัญที่สร้างพระสมเด็จบรรจุนั้นมี วัดเกศไชโย วัดบางขุนพรหม และวัดระฆังโฆสิตาราม ทั้งสามวัดนี้ สมเด็จโตได้สร้างพระ สมเด็จขึ้นมาด้วยเจตนาบรรจุให้ครบจํานวน ๘๔,๐๐๐ องค์ การสร้างนั้นสมเด็จโตจัดทําผงวิเศษและปลุกเสกเดียวแต่เพียงผู้เดียว
คุณวิเศษด้านวิปัสสนาญาณกรรมฐานชั้นสูงนั้น สมเด็จโตได้ศึกษามาจากสมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อนซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จโตได้พร่่ำสอนวิชาต่างๆ และถ่ายทอดจนแตกฉานทุกอย่าง
สมัยนั้นสมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อนได้สร้างพระสมเด็จวัดพลับซึ่งสร้างพิมพ์และปลุกเสกเอง ดังนั้นต้นแบบของพระสมเด็จจึงนํามาจากพระอาจารย์ที่มีคุณวิเศษอย่างแตกฉานจากตําราโบราณนั่นเอง
ดังนั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ผู้เป็นศิษย์จึงเป็นอัจฉริยะเถระที่ได้รับการเคารพนับถือตามมาทั้งในด้านเป็นพหูสูตผู้รอบรู้ทั้งทางโลกทางธรรม มีความเจนจบทั้งพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์โดยเฉพาะการเทศนาธรรม เป็นพระเถระนักเทศน์ที่มีคารมคมคาย ซ่อนปัญญาที่ล้ําเลิศจนหาพระเถระรูปใดเสมอเท่า จึงเป็นยอดพระเถระแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สามารถสั่งสอนธรรมได้ทุกโอกาสโดยไม่เลือก จนมีผู้นําปริศนานั้นไปค้นหาธรรมปัญญาและนําไปปฏิบัติซึ่งผู้มีปัญญาและสามารถมองรู้ดูออกได้มาตลอด
พระคาถา คําสอน และเทศนาธรรมของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ที่ปรากฏแพร่หลายนั้น ได้แก่
* พระคาถาชินบัญชร
* บทกลอนสุภาษิตสอนศิษย์
* เทศนาธรรมเรื่องสิบสองนักษัตร