อรรถาธิบายธรรมจากสมเด็จโต
ธรรมปัญญาของสมเด็จโตในการอธิบายธรรมให้เข้าใจนั้นได้ปฏิบัติอยู่เสมอเพื่อให้สาธุชนได้นําไปเป็นแนวปฏิบัติได้ง่าย เช่น
อุเบกขา ถ้าเราเข้าถึงธรรมะข้ออุเบกขาอย่างถ่องแท้ได้แล้ว เราก็มีความสุข มีความสุขโดยไม่ต้องมีความเสียดาย ไม่มีความเสียใจ ไม่มีความพอใจ ไม่มีความไม่พอใจ ไม่มีความชอบ ไม่มีความเกลียดชัง ไม่มีความว่าจะต้องทํา และไม่มีความว่าไม่ต้องทํา นั่นคือ อารมณ์แห่งความอุเบกขาที่แท้จริง
มรรคแปด มรรคในหลักแห่งพระพุทธศาสนาก็คือ มรรคมีองค์แปด องค์แปดนี้สําหรับสามัญปุถุชนก็คือให้อยู่ในสัมมาอาชีวะชอบ คิดชอบ เลี้ยงตนชอบ ปฏิบัติชอบ นี่คือเข้าหลักแห่งมรรค เมื่อปฏิบัติตน ชอบย่อมถึงผล ผลอันนี้หมายถึงผลแห่งการมีความสุข เพราะว่าเราปฏิบัติ ตนดี เรามีสัจจะ เรามีความจริงในการบําเพ็ญตนเพื่อสัมมาอาชีวะชอบ เราไม่มีทุจริตต่อใคร กระแสจิตของเราย่อมไม่มีทุกข์เพราะว่าเราเป็นมิตรกับทุกคน ย่อมมีมรรคแห่งตน มรรคอันนี้ก็หมายความว่า สัมมาอาชีวะชอบในหลักของการเป็นคนธรรมดา
เมื่อมรรคดี..ผลก็ดี มรรคเลว ผลก็เลว มรรคแปลว่า สิ่งปฏิบัติของมนุษย์เพื่อให้หลุดพ้นจากความชั่วให้ถึงความดีอยู่ในสัมมาอาชีวะชอบ ในการงานชอบ ในการปฏิบัติวิปัสสนาชอบ ในการอยู่ในศีลในธรรมชอบ อันนี้ทางหลักของศาสนาเขาก็ถือว่า นี่แหละคือมรรคแห่งการปฏิบัติของคน
มนุษย์
ธรรมชาติสร้างพืชพันธุ์ให้พอกินสําหรับมนุษย์ที่เกิดมา มนุษย์จะไม่อดอยาก ถ้ามนุษย์บางเหล่าไม่เก็บ ไม่สะสม ไม่ยึดเกินควร คือ ถ้ามนุษย์ทุกคนเข้าซึ้งถึงสัจจะแห่งความจริงว่า
“เกิดมาไม่มีอะไร ตายไปเอาอะไรไปไม่ได้ และตายไปแล้วไม่สูญ”
อาตมาคิดว่า ถ้าเราใช้ธรรมของธรรมะหรือหลักความจริงนี้ตีแผ่เข้าไปในหมู่ชนชั้นที่มีตัวโลภะครอบงํามากได้แล้วไซร้ โลกมนุษย์นี้ก็คงจะน่าอยู่กว่าปัจจุบัน แต่ทุกวันนี้โลกมนุษย์ยุ่งเหยิง นานา ศีลธรรมประจําใจมนุษย์เสื่อม เพราะว่ามนุษย์พยายามจับความผิดคนอื่น เพราะว่ามนุษย์ไม่พิจารณาตัวเอง ไม่ยอมรับความผิดของตัวเอง
ทุกข์ทั้งหลายเกิดจากการยึดมั่น ยึดเขา ยึดเรา ยึดคณะ ยึดพวก เมื่อใดเกิดความยึดมั่นในสิ่งเหล่านี้ แม้เพียงสิ่งเดียว เมื่อนั้นย่อมเกิดความทุกข์
มนุษย์ทุกวันนี้ถูกวัตถุครอบงํา มนุษย์ทุกวันนี้ไม่สนใจกับตน จึงทําให้โลกทุกวันนี้ปั่นป่วน ความสงบในโลกมนุษย์ไม่มี ความร้อน ยิ่งทวีคูณขึ้น
เพราะฉะนั้นอาตมาจึงฝากเอาไว้ว่า จะทําอย่างไรจึงจะช่วยเหล่ามนุษย์ทั้งหลายให้เดินถูกทางเล่า
อันนี้ฝากให้เหล่ามนุษย์ทั้งหลายไปพิจารณากัน ไม่มีอะไรมา ไม่มีอะไรไป ไม่มีอะไร มีอยู่ก็แต่จิตใจและวิญญาณ
ท่านทําดีก็เสวยกรรมดี ทําไม่ดีก็ตกนรกไป ท่านอย่านึกว่าท่านตาย แล้วสูญเปล่า ท่านทั้งหลายจะพบกันในโลกวิญญาณอีก
หนี้สินที่ท่านสร้างขึ้นในโลกมนุษย์ก็จะชดใช้กันในโลกวิญญาณ ใช้ไม่หมดก็ต้องไปเกิด ไม่อย่างนั้นจะไม่เรียกว่า เวียนว่ายตายเกิด
โลกนี้กลมไม่สิ้นภพ สิ้นชาติ โปรดพิจารณาตัวท่านเมื่อไม่มีสิ่งใดปกปิดเถิด
การเกิดเป็นมนุษย์ การเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ ส่วนมากที่มาจากสัตว์เดรัจฉานแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์
ด้วยการบําเพ็ญกุศล อารมณ์ของจิตระหว่างภพชาติที่เป็นสัตว์นั้นๆ
เมื่อได้มาเกิดเป็นมนุษย์ในชาติแรกที่เริ่มเป็นมนุษย์นั้น
มนุษย์เหล่านี้เป็นมนุษย์ที่ล้วนแต่ติดอยู่ในกามฉันทะ การเกิดเป็นมนุษย์นั้นเพราะอนุสัยที่นอนเนื่องอยู่
เมื่อมาเกิดในโลกมนุษย์ก็แบ่งออกเป็น ๓ จําพวก คือ
มนุษย์ประเภทที่หนึ่ง เกิดมาแล้วเอาแต่เสพกามและข้องอยู่ในกาม
มนุษย์ประเภทนี้มาจากการเปลี่ยนแปลงของกุศลและของจิตจากพวกสัตว์เดรัจฉานที่พ้นขั้นมาสู่การเป็นมนุษย์
มนุษย์ประเภทที่สอง เกิดมาจากมนุษย์ที่บําเพ็ญ ทําบุญสุนทาน ทําสมาธิ มาจากเทพพรหมที่หมดอายุขัยแห่งการเสวยทิพยอํานาจ
มนุษย์ประเภทนี้ชอบเสพกามแล้วก็สร้างเกียรติเพื่อประดับบารมี
มนุษย์ประเภทที่สาม คือมนุษย์ประเภทเหนือกามเหนือเกียรติ
มาจากการเป็นเทพ การเป็นพรหม การเป็นมนุษย์ที่เคยครองอยู่ในเพศนักพรตมาบ้าง บําเพ็ญมาเป็นชาติๆ บ้าง
มนุษย์ประเภทนี้มาจากพวกที่เปลี่ยนแปลงจากมนุษย์ทั่วไปสอง ประเภทแรก มาสู่การเหนือเกียรติ เหนือกาม ก็คือมนุษย์ประเภทนักพรต เพราะฉะนั้นจะเห็นว่า อนุสัยเปลี่ยนแปลงตามกฎอนิจจัง
พระพุทธเจ้าท่านสอนให้รู้ซึ้งตามทันธรรมะแห่งธรรมชาติของอนัตตา เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า อนุสัยนั้นรับกันเป็นชาติๆ แล้วเปลี่ยนแปลงยกฐานะของอนุสัยขึ้นเป็นลําดับๆ นั้นแล
การทําใจให้สงบ เมื่อท่านหาเวลาว่างได้ จงพยายามทําจิตให้สงบ
เมื่อจิตสงบดีแล้วจะเกิดอํานาจทิพย์ช่วยให้ท่านเป็นผู้มีสมองปลอดโปร่ง มีปัญญาในการดํารงไว้ซึ่งสัมมาอาชีวะ ความสุขจะเกิดแก่ท่าน
ทุกสิ่งในโลกนี้ถ้าเราไปยึดก็เกิดทุกข์ ถ้าไม่ยึดคือวางจิตให้นิ่งๆ ตามภาวะกรรมตามแบบที่เรียกว่า วันนี้ตื่นเช้าขึ้นมา ข้าฯ ยังไม่ตาย
ข้าฯ จะต้องทําอะไรเพื่อเลี้ยงชีพให้ขันธ์ข้าฯ อยู่ นี่คือสิ่งที่สมองคิด คิดแค่นี้พอ เมื่อถึงเวลาทํางานก็ทํางานไปให้ดีที่สุด กลับจากทํางานมีเวลาว่างก็ควรพักผ่อนสมองด้วยการทําจิตให้สงบ นี่คือการบํารุงในการทําจิตให้สงบ อํานาจสมาธิช่วยขจัดโรคภัยในตัวได้
โดยเฉพาะโรคภัยที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติแห่งฤดูกาล
ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ทําให้เลือดลมในตัวท่านดี ช่วยให้ท่านแก่ช้า
คือแม้อายุจะมากตามวันเวลา แต่สังขารโดยเฉพาะใบหน้าของท่าน จะดูอ่อนกว่าวัย
กฎแห่งกรรม
กฎแห่งกรรมเป็นสิ่งที่ละเอียดมาก ก็เปรียบเสมือนหนึ่งธรรมชาติของการเติบโตของผลไม้ตามฤดูกาล
กรรมที่ท่านสร้างมาในอดีตภพ ย่อมนําท่านมาสู่ปัจจุบันภพฉันใดก็ฉันนั้น
ทีนี้กรรมเหล่านั้นที่ท่านได้ทําไว้แต่ท่านได้ลืมเสีย เมื่อท่านได้รับผลใดๆ ที่เกิดจากกรรมที่ได้ทําไว้
ท่านจึงได้สงสัยมนุษย์ที่ยึดว่าทําไมทําดีจึงไม่ได้ดี เป็นเพราะไม่โปร่งในขั้นสมุฏฐานของเหตุและปัจจัย
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าท่านหว่านพืชชนิดใดลง พืชชนิดนั้นจะขึ้นตามเหล่ากอพืชพันธุ์นั้น
กรรมใดที่ท่านสร้างมาในภพที่ท่านลืมไปแล้ว แต่กรรมนั้นก็ยังตามเสวยตามภพชนิดต่างๆ อยู่
ซึ่งเปรียบง่ายๆ สมมุติว่าเมื่อสองปีก่อน ท่านได้ฆ่าคนตายในที่แห่งหนึ่งในเมืองบางกอก แล้วท่านหนีจากบางกอกไปอยู่แก่งคอย เรียกว่าท่านไปเกิดภพโน้นทั้งๆ ที่ตัวของท่านคือคนเดิม
แต่ไปอยู่ในภพนั้นเมืองนั้น ในขณะที่ท่านเกิดสํานึกผิดขึ้นมา ท่านอยู่ในเมืองนั้นท่านจะเป็นคนที่ถือศีล ทําบุญ ให้ทาน เป็นมิตรกับชาวบ้านที่อยู่ด้วยกัน
ชาวบ้านในภพนั้นก็ยกย่องสรรเสริญท่านว่าเป็นคนดี มีศีลธรรม น่าเคารพนับถือ
แต่กรรมที่ท่านสร้างในบางกอกคือฆ่าคนในระหว่างปีโน้น
กรรมอันนั้นย่อมตามมาหาท่านอยู่ ก็คือกฎของบ้านเมือง
ตํารวจจะคอยติดตามท่านเปรียบเสมือนหนึ่งการตามของภพของกรรมไปถึงที่นั่น
แม้ว่าท่านกําลังถืออุโบสถอยู่ในวัด ถ้าตํารวจหลวงไปพบเข้าก็จะต้องจับท่านทันที
คนในละแวกนั้นจะเกิดความไม่พอใจ หรือจะด่าทอตํารวจที่มาจับคนดีที่ถืออุโบสถอยู่
แต่กรรมที่ท่านสร้างที่บางกอกนั้น ชาวบ้านในหมู่ในภพนั้นไม่มีใครรู้
นี่ก็เปรียบเสมือนหนึ่งกรรม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ให้พิสูจน์ง่ายๆ ของคําว่า กรรม
ก็คือกรรมใดที่ท่านสร้างมา ท่านจะต้องเสวยกรรมนั้นในภพใดภพหนึ่ง
แต่ที่นี้ท่านเสวยกรรมนั้นในภพนั้นวันนั้น คนในหมู่นั้น ในปัจจุบันชาตินั้น หรือตัวท่านเองไม่เข้าใจ จึงทําให้คิดว่า ทําแต่ความดี ทําไมจึงไม่ได้ดี สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งละเอียด กฎแห่งกรรมคือ กฎแห่งธรรมชาติ ย่อมทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ท่านสร้างกรรมดีในปัจจุบันนี้ กรรมอันนั้นอาจจะให้ท่านเสวยในอีกภพหนึ่งก็ได้
เพราะว่ามันเป็นกงล้อแห่งกงเกวียนกําเกวียน ที่จะแยกแยะออกมาชาติไหน ชาติอะไร ชาติโน้นชาตินี้เป็นสิ่งยาก เพราะว่ามนุษย์เราแต่ละคนที่เกิดมาในปัจจุบันนี้ ชาตินี้เป็นภพเป็นชาติที่นับได้เป็นร้อยๆ พันๆ ชาติ
เป็นกงเกวียนกําเกวียนที่ทับถมทั้งดีทั้งชั่ว โดยเจ้าตัวเองก็แยกแยะ ไม่ออก ไม่ออก
ยกตัวอย่างง่ายๆ เสมือนหนึ่่งตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น
จิตของท่านมีความคิด ความรู้สึกอยู่ตลอดเวลา พอตกเย็นท่านมานั่งทบทวน
ท่านก็ยังแยกแยะทบทวนไม่ค่อยออกว่า เวลาไหนท่านมีอกุศล อารมณ์ใด
เวลาไหนท่านมีโทสะจริต เวลาไหนท่านมีโมหะจริต เวลาไหนท่านมีเมตตาจิต
เพราะว่าการเคลื่อนไหวของธรรมชาติแห่งจิตวิญญาณนี้เร็วยิ่งกว่า อณูปรมาณูทั้งหลาย
เร็วยิ่งกว่าปรอท เพราะฉะนั้นจึงแยกได้เพียงว่าท่านสร้างกรรมใดไว้
ท่านย่อมจะต้องเสวยกรรมนั้นในภพหนึ่งชาติหนึ่งแน่นอน เพราะฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายที่ประกาศตนเข้ามาเป็นพุทธสาวก เป็นพุทธมามกะ เป็นผู้ที่อยู่ในศาสนา
จงเชื่อในเหตุผล อย่าเชื่อในสิ่งงมงาย จงสร้างความดี
แล้วท่านจะได้เสวยความดีนั้นไม่ภพใดก็ภพหนึ่ง
ความทุกข์
ทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้นเพราะมนุษย์ไม่รู้จักการครองตนให้อยู่ในสัมมาอาชีวะ
มนุษย์นั้นไม่รู้จักวางตนในการเป็นคนที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ท่านทําตนให้พ้นทุกข์ทางใจ
ดับทางจิตนี้ก็เนื่องจากว่า ทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้นได้เพราะอุปาทานของจิต จิตท่านยึดสมมุติบัญญัติมาก ท่านก็เป็นทุกข์มาก สิ่งเหล่านี้เกิดจากอุปาทานของจิต เพราะอะไรเล่า...
เพราะว่าชีวิตของคนเรานี้ ถ้าท่านอยู่อย่างไม่กลัวสังคมหนึ่ง...อยู่อย่างรักธรรมชาติหนึ่ง อยู่อย่างสันโดษหนึ่ง วันหนึ่งๆ ท่านมีปัจจัยในการเลี้ยงชีพเท่าไร ท่านกินข้าวเพียงกี่มื้อ ถ้าท่านกินด้วยไม่มีอุปาทาน ถือว่าขันธ์นี้เกิดขึ้นได้ และดํารงอยู่เพราะปฏิกูลบํารุงปฏิกูลให้ขันธ์นี้อยู่เพื่อใช้กรรม
เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ท่านนุ่งห่มอย่างพอปกปิดกายเพื่อไม่ให้เป็นที่อุจาดตาไม่จําเป็นที่จะต้องไปตัดเสื้อผ้าราคาแพงๆ ถ้าท่านตัดคน ไม่กลัวสังคมแล้วท่านจะยิ้มรับชะตากรรมของท่านด้วยความภูมิใจว่า ข้าฯ นี้ไม่ต้องติดหนี้ใคร ข้าฯ นี้ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับใคร ข้าฯ นี้อยู่ไปวันหนึ่งๆ เพื่อใช้กรรมของกระแสแห่งการพัวพันมา ในอดีตภพที่ส่งข้าฯ ให้มาเกิดเป็นคน ถ้าท่านดํารงอยู่ในสิ่งเหล่านี้ การเป็นปุถุชนก็ย่อมจะมีทุกข์น้อย ทั้งนี้และทั้งนั้นพระพุทธองค์รู้วาระกระแสจิต คือรู้ว่าทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะความยึดของอุปาทานของจิต ถ้าตัดสมุฏฐานคืออุปาทานนี้เสียได้ ท่านก็ย่อมจะไม่มีทุกข์
แก่นพุทธศาสนา พุทธะหมายถึงผู้รู้ พุทธศาสนาหมายถึงศาสนาของผู้รู้ เพราะฉะนั้นผู้ที่จะเข้าซึ้งถึงแก่นของพระพุทธศาสนา ก็หมายความว่าต้องรู้ในด้านปฏิบัติ
เพราะว่าศาสนาพุทธมีจุดสําคัญก็คือ ให้ทุกคนเข้าซึ่้งถึงแก่นของธรรมชาติ
ให้ทุกคนรู้หลักแห่งความจริง รู้กฎของอนัตตา นี่คือหัวใจสําคัญของพระพุทธศาสนานี้ท่านเพียงแต่รู้กฎของศาสนา แต่ไม่ถึงธรรมของศาสนา ก็เปรียบเสมือนหนึ่งท่านเป็นนักศึกษาที่อ่านตําราเป็นร้อยๆ เล่ม แต่ไม่ได้เอามาทดลองปฏิบัติ หรือนําสิ่งที่ศึกษาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
การที่ท่านจะเข้าซึ้งถึงศาสนาพุทธอย่างแท้จริง ท่านจะต้องวางตนให้ปฏิบัติตนอยู่ในมัชฌิมาปฏิปทาคือทางสายกลาง ท่านก็จะต้องใช้ตัวเองเข้าไปปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ให้รู้ถึงเหตุและผลนั้นๆ
เพราะฉะนั้น พุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่ไม่ให้คนเชื่องมงาย แต่ให้เชื่อในสิ่งที่เห็นที่ปฏิบัติได้ ทุกวันนี้มีแต่คนพูดถึงเรื่องศาสนา แต่ไม่มีการเข้าไปทําให้ถึงแก่นพุทธศาสนา
อานิสงส์ของการสวดมนต์
สมเด็จโตนั้นให้ความสําคัญต่อการสวดมนต์อย่างยิ่ง จะเห็นได้จากในครั้งธุดงค์ไปยังแหล่งพุทธศาสนาหรือโบราณสถานสําคัญ ก็จะค้นหาพระคัมภีร์เก่าที่ตกค้างอยู่มาศึกษาหาความรู้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคาถาพระไตรปิฎกที่ได้จากกรุโบราณเมืองศรีสัชนาลัยและคาถาชินบัญชรที่ได้นําคัมภีร์ภาษาสิงหลมาจากกรุเก่าที่เมืองกําแพงเพชรนั้น ถือว่าเป็นการค้นพบพระคาถาสําคัญสําหรับสมเด็จโตโดยเฉพาะ ดังนั้นการสวดมนต์นั้นจึงถือเป็นเรื่องสําคัญสําหรับพระสงฆ์อย่างยิ่งสําหรับอานิสงส์ของการสวดมนต์นั้นสมเด็จโตได้เล่าไว้ว่า
อาตมา (สมเด็จโต) ได้เห็นอานิสงส์ของการสวดมนต์ด้วยตัวอาตมาเอง
ในสมัยที่อาตมาได้ออกเดินธุดงค์ในป่าเป็นเวลา ๑๕ ปี (สมัยรัชกาลที่ ๓) โดยอาศัยอยู่ในเขตดงพญาไฟ ซึ่งเป็นเขตที่อยู่ใกล้ชายแดนของประเทศเขมร สมัยนั้นเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์และภูตผีวิญญาณ ตลอดจนชาวบ้านที่มีเวทมนตร์คาถาและเล่นคุณไสยกันอย่างมากมาย
ตอนนั้นอาตมาได้เดินธุดงค์แต่เพียงลําพัง ช่วงนั้นอาตมามิได้ศึกษาในพระเวทมนตร์คาถาอาคมใดเลย นอกจากคำว่าในอาณาบริเวณแห่งชายแดนแห่งประเทศสยาม
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ซึ่งมีความหมายว่า
ข้าพเจ้าขอยึดมั่น
พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
พระธรรมเป็นที่พึ่ง
พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
อาตมาไปที่แห่งหนตําบลใด ก็จะกล่าวเพียงคํานี้ตลอดเวลาของจิตใจ
อันเป็นที่พึ่งของอาตมา
อาตมาเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านชายแดนแห่งประเทศสยามในดงพญาไฟขณะนั้น ในหมู่บ้านมีชาวบ้านอาศัยอยู่เพียงเล็กน้อยอาตมาจึงได้ปักกลดอยู่ที่ท้ายหมู่บ้าน มีชาวบ้านนําอาหารมาถวายตามกําลังที่เขาจะพอทําได้
เมื่อเห็นมีพระภิกษุมาปักกลดในที่แห่งนั้น อาตมาอาศัยอยู่ที่นั้นเป็นระยะเวลาหลายปี และ ณ ที่แห่งนั้น อาตมาจึงได้พบคุณวิเศษแห่งการสวดมนต์ มีชาวบ้านผู้หนึ่งได้เข้ามาสนทนากับอาตมาหลังจากได้ถวายอาหารแล้ว ชาวบ้านผู้นั้นอาตมาทราบชื่อภายหลังว่าชื่อ นายผล นายผลได้เล่าให้อาตมาฟังว่า เขาเป็นผู้ฝึกเวทมนตร์คาถาอาคมเล่าเรียนจนมีญาณแก่กล้า และมักจะทดสอบเวทมนตร์คาถาอาคมแก่พระภิกษุสงฆ์ที่เดินทางมาปักกลด ณ บริเวณนี้เป็นประจํา
เขาเล่าให้อาตมาฟังว่า เขาได้ส่งอํานาจคุณไสยเข้ามาทําร้ายอาตมาทุกคืน แต่ไม่ได้หวังทําร้ายเป็นบาปเป็นกรรมถึงตาย เพียงแต่ต้องการทดสอบดูว่า อาตมาจะมีวิชาอาคมแก่กล้าสามารถที่จะต่อสู้กับคณไสยเขาได้หรือไม่ นายผลก็ได้ทําคุณไสยใส่อาตมาถึง ๗ วันเต็มๆ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยควายธนู หรือปล่อยหนังควาย ปล่อยตะขาบ ตลอดจนภูตพรายเข้ามาทําร้ายอาตมา แต่ปรากฏว่าสิ่งที่ปล่อยมาก็ไม่สามารถเข้ามาทําร้ายอาตมาได้เลย วันนี้จึงได้มากราบเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนวิชาความรู้กับอาตมา อาตมาจึงได้บอกว่า ตัวอาตมาเองไม่ได้ศึกษาพระเวทมนตร์ คาถาหรือคุณไสยใด นายผลก็ไม่ยอมเชื่อหาว่าอาตมาโกหก ถ้าหากไม่มีของดีแล้วไซร้ไฉนอํานาจคุณไสยดําที่เขาส่งมา จึงกลับมายังเขา... ผู้กระทําไม่สามารถทําร้ายอาตมาได้ อาตมาก็พยายามชี้แจงให้เขารู้ว่า อาตมาไม่มีวิชาเหล่านี้จริงๆ ทําให้นายผลสงสัยยิ่งนักว่าเหตุใดอาตมาจึง ไม่ได้รับภัยอันตรายจากอํานาจเวทมนต์คุณไสยดําที่เขาส่งมาทําร้ายได้ อาตมาได้บอกกล่าวแก่เขาว่า
เมื่ออาตมาจะนอนอาตมาก็จะสวดแต่คําว่า
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ จนจิตมีความสงบนิ่งแล้ว จึงได้แผ่ส่วนกุศลไปให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย จงอย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย และอาตมาก็จําวัดนอนเป็นปกติ นายผล เมื่อได้ฟังดังนั้น จึงได้บอกแก่อาตมาว่า
ข้าแต่ท่านอาจารย์ ถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าขอร้องให้ท่านในวันนี้ก่อนที่ท่านจะจําวัดจงหยุดการสวดมนต์สัก ๑ คืนได้หรือไม่ ข้าพเจ้าต้องการจะพิสูจน์ว่าการสวดมนต์ของท่านเช่นนี้จะเป็นเกราะคุ้มครองภัยท่าน หรือเป็นเพราะอํานาจเวทมนตร์คาถาในภูตผีปีศาจของข้าพเจ้าเสื่อมกันแน่ ข้าพเจ้าขอรับรองว่าจะไม่ทําอันตรายแก่ท่านอาจารย์อย่างเด็ดขาด เพียงแต่ต้องการที่จะทดสอบให้ความรู้แจ้งเห็นจริงว่าเกิดอะไรขึ้น อาตมาก็ตกลงรับปากแก่นายผลว่าคืนนี้จะไม่ทําการสวดมนต์
นายผลจึงได้ลากลับไป ครั้นถึงเวลาพลบค่ํา อาตมาก็นอนโดยมิได้ทําการสวดมนต์ตามที่ได้ปฏิบัติเป็นปกติ เมื่ออาตมานอนหลับไป
อาตมารู้สึกตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ด้วยปรากฏว่าอาตมาได้ยินเสียง กุกกัก กุกกักขึ้นมา
จึงได้จุดเทียนและพบตะขาบใหญ่ยาวเท่าขาของอาตมากําลังเลื้อยเข้ามาอยู่ใกล้ตัวของอาตมามาก อาตมารู้สึกตกใจถึงหน้าถอดสี และด้วยสัญชาตญาณจึงกล่าวคําสวดมนต์ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ด้วยจิตยึดมั่นในพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งเป็นเวลานานเท่าใดไม่ทราบได้ เสียงกุกกักและตะขาบที่อยู่ข้างหน้าก็อันตรธานหายไป จากนั้นอาตมาจึงได้จําวัดนอนเป็นปกติ
วันรุ่งขึ้น นายผลก็มาหาอาตมาและได้กล่าวว่า เมื่อคืนนี้ข้าพเจ้าได้ปล่อยตะขาบเข้าไปในกลดที่ท่านพํานักอยู่ อาตมาบอกว่าอาตมาได้ตื่นมาและตกใจจึงได้สวดมนต์ภาวนา ตะขาบตัวนั้นก็อันตรธานหายไป นายผลจึงได้ยกมือพนมขึ้น แล้วกล่าวว่า บัดนี้ข้าพเจ้าเชื่อแล้วว่าอํานาจเวท มนตร์คาถา และคุณไสยใดๆ ของข้าพเจ้ามิอาจทําร้ายท่านได้ ก็เพราะอํานาจการสวดมนต์ภาวนาของท่านเป็นเกราะคุ้มครองภัยอันตรายต่างๆ ได้ ที่อาตมา (สมเด็จโต) ได้เล่าให้ท่านทั้งหลายในที่นี้ได้ฟังกัน เพื่อให้เห็นอานิสงส์ของการสวดมนต์ว่า เหล่าพรหมเทพได้มาฟังการสวดมนต์จริงดังที่อาตมาได้เทศน์ไว้ เพราะถ้าไม่ใช่เหล่าพวกพรหมเทพแล้วไซร้ ก็คงไม่สามารถที่จะขับไล่สิ่งที่เกิดจากอํานาจคุณไสยที่นายผล ส่งมาเล่นงานอาตมาได้อย่างแน่นอน ท่านเจ้าพระยาและอุบาสกอุบาสิกา ในที่นั้น เมื่อได้ฟังคําเทศนาแล้วต่างก็ยกมือขึ้นสาธุว่า อานิสงส์ของการสวดมนต์ช่างมีคุณค่าสูงส่งยิ่งนัก
ธรรมปัญญาศึกษาเรื่องกรรม
การศึกษาเรื่องกรรมที่มีการบันทึกนั้น ได้มีการบันทึกสมเด็จโตในโลกวิญญาณว่า
การที่มนุษย์เราประกอบกรรมนั้น จะเป็นกรรมอันใดก็แล้วแต่กรรมอันนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อประกอบด้วย ๓ กรรม คือกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
นาทีนี้ในเรื่องการบันทึกของเทวดานั้น ท่านอย่าลืมว่า เทวโลกมีเทวดาเป็นล้านๆ โกฏิ ล้านๆ จักรวาล ในด้านแห่งความจริงของมนุษย์ ถ้าจะเอาความจริงกันแล้วก็คือ ทุกคนมีห้องเก็บกรรมในโลกวิญญาณ กรรมของวิญญาณใด ก็จะคอยติดตามสนองวิญญาณนั้นๆ ที่มาปฏิสนธิเป็นเทวดา ก็ดี เป็นพระพรหมก็ดี เป็นมนุษย์ก็ดี หรือที่ปฏิสนธิลงสู่ยมโลกก็ดี
เรื่องนี้ต้องศึกษา ให้เข้าซึ่งถึงความจริงในโลกวิญญาณ และอาตมาก็เคยบอกแล้วว่า ในตําราทั้งหลายองค์สมณโคดมไม่เคยสอนให้ยึดคําสอนของพระองค์เป็นสรณะ
แต่ต้องการให้ท่านปฏิบัติจนถึงสภาพแห่งการ "รู้" อันบริสุทธิ์ของ พุทธะเป็นสรณะเพื่อเป็นเรือเป็นการช่วยตัวเองให้พ้นจากกฎแห่งวัฏฏะของทะเลซึ่งมีแต่คลื่นของความบ้าคลั่งในกามตัณหา ทีนี้เมื่อมาแยกแยะถึงการจดกรรมของเทวดาแล้วไซร้ ท่านพูดอะไรท่านทําอะไร หรือแม้แต่คิดอย่างไร ขณะใดก็ถูกบันทึกไว้หมด
เพราะเทวดามีทั่วทุกพิภพ ในเหล่าแห่งท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ นี้ มีหน้าที่พิทักษ์ทิศทั้ง ๔ แห่งจักรวาลของโลก หนึ่งในหมื่นจักรวาลนี้เรียกได้ว่าท่านเป็นหัวหน้าหน่วยในการรับทราบถึงการบันทึกทั้งหลายนั้น
เพราะฉะนั้น การอ่านพระไตรปิฎกจึงอย่าอ่านเพียงเพื่อคุย ถ้าถามความจริงขององค์สมณโคดมแล้ว องค์สมณโคดมจะบอกว่า
“ท่านจงวางหมดทุกตํารา ท่านจงมาค้นจิตในจิต ท่านจงมาค้นกายในกาย เมื่อนั้นท่านจะรู้ว่าวิญญาณอยู่อย่างไร” ในแนวแห่งพระสูตรดังกล่าวนั้น อรรถกถาจารย์ ฎีกาจารย์ ในกาลต่อมา ไม่เข้าซึ่งถึงเรื่องวิญญาณ ไม่เข้าซึ้งถึงเรื่องกรรมจึงเขียนออกมาเช่นนั้น ตามหลักแห่งสัจธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เชื่อตามหลักแห่งการปฏิบัติจิตเป็นสรณะ ให้ขัดเกลาอกุศลกรรมออกจากกาย นี่คือหลักความจริงที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการ พระไตรปิฎกเพียงแต่เป็นพื้นฐานให้อ่านแผนผัง ถ้าท่านยึดท่านก็ยังไม่ถึงธรรม ทุกคนมีห้องเก็บกรรมอยู่ในโลกวิญญาณ ท่านพูดอะไร ท่านทําอะไร หรือแม้แต่คิดอะไร ขณะใดก็ถูกจดบันทึกไว้หมด เมื่อถึงวาระตายจากโลกมนุษย์เขาจะรวบรวมสถิติแห่งกุศลกรรมและอกุศลกรรม
รวมพร้อมทั้ง มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม แล้วจึงวินิจฉัยสภาพ การทําถูกผิดของบุคคลนั้น
ธรรมปัญญาเรื่องทาน ศีล ภาวนา
๑. ปุจฉา - ถ้าเราไม่มีเงินจะทําบุญทําทานได้อย่างไร
อาตมาขอบอกให้ทุกคนรู้ไว้เลยว่า การทําทาน ถ้าเราไม่มีเงิน ก็ใช้แรงกายทําทานแทนก็ได้ หรือถ้าไม่มีงานที่จะให้แรงกาย แต่เราตั้งใจทําทาน ก็เพียงแต่ยกมืออนุโมทนาที่เห็นผู้อื่นทําบุญทําทาน เพียงแค่นี้โยมก็ได้บุญแล้ว
๒. ปุจฉา - การรักษาศีลดีอย่างไรและเราควรทําอย่างไรบ้างในชีวิตประจําวัน - การรักษาศีล เป็นการทําให้จิตบริสุทธิ์ พวกโยมสังเกตหรือไม่ เวลาที่โยมไปทําบุญ ทําไมพระถึงให้โยมรับศีลเสียก่อน เพราะต้องการที่จะให้ผู้ทําบุญมีจิตใจที่บริสุทธิ์ เมื่อทําบุญก็จะได้ผลแห่งบุญเต็มกําลัง บางคนก็อ้างว่า ไม่สามารถถือศีลได้ เพราะหน้าที่การงานทําให้ต้องผิดศีล แต่เราสามารถที่จะถือศีลได้ ขณะที่เรานอนหลับในเวลากลางคืน และถือศีลได้ครบทั้ง ๕ ข้ออีกด้วย
เพียงแต่เราตั้งใจที่จะทํา เราก็อาราธนารับศีล ๕ ด้วยตนเองต่อหน้าพระพุทธรูปที่บ้าน ซึ่งถือว่าเป็นการทําบุญที่ง่าย ได้รับผลเต็มกําลัง!!!
ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ จิตใจก็ใสสะอาด มีความสุข แต่ถ้าเกิดเราตายในขณะที่นอนหลับถือศีล บุญก็จะส่งผลให้เราไปสู่สวรรค์ทันที
๓. ปุจฉา - แล้วเรื่องสมาธิ ปัญญา หรือสวดมนต์ภาวนา มีความสําคัญอย่างไรต่อชีวิตคนเรา และเราควรทําอย่างไรบ้างจึงจะถือว่าดีที่สุด
วิสัชนา - แต่บุญทั้งสองข้อ คือ ทานและศีล ก็ยังสู้บุญจากการสวด มนต์ภาวนาไม่ได้
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจกันว่า การสวดมนต์ภาวนามีประโยชน์น้อย และเสียเวลามาก แต่ความจริงแล้ว การสวดมนต์ภาวนามีประโยชน์อย่างมากมาย เพราะการสวดมนต์ภาวนา เป็นการกล่าวถึงคุณงามความดีของ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ การสวดมนต์ด้วยความตั้งใจ จนจิตเป็นสมาธิ และใช้ “สติ” พิจารณา จนเกิดปัญญาเห็นธรรมทําให้จิตบรรลุไปสู่นิพพานได้
การทําทาน - ทําให้เราร่ํารวย การถือศีล - ทําให้รูปสวย การภาวนา - ทําให้เป็นผู้มีปัญญา แต่จงจําไว้ว่า
“หัวใจของการทําบุญทุกครั้ง พวกเจ้าต้องแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศลให้แก่วิญญาณทุกรูปทุกนาม”
ถ้าพวกเจ้าทําบุญกันให้เป็นตามที่อาตมาสอน บุญจะบันดาลให้พวกเจ้ามีความสุขในชาติปัจจุบัน ไม่ต้องรอไปถึงชาติหน้ากันหรอก นะจ๊ะ เจริญพร
คําสอนสมเด็จโต
สมเด็จโตมีคําสอนเรื่องบุญไว้ว่า “ถ้าเจ้าไม่เคยสร้างไว้ใครที่ไหนแล้วจะมาช่วยได้ ลูกเอ๋ย”
แล้วมีอรรถาธิบายต่อไปว่า
"ก่อนที่เจ้าจะเที่ยวไปอ้อนวอนขอพึ่งบารมีหลวงพ่อองค์ใดองค์หนึ่ง เจ้าจะต้องมีทุน (บุญ) ของตัวเอง เป็นทุนเดิมติดตัวไปบ้างก่อน"
ต่อเมื่อบารมีของตัวเจ้าเองยังไม่พอ จึงขอร้องยืมบารมีของผู้อื่นมาช่วยเหลือ
ถ้ามิฉะนั้นแล้วเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะเจ้าจะต้องเป็นหนี้บุญบารมีที่เจ้าร้องขอ หรือยืมคนเขา มาจนล้นพ้นตัว
ครั้นเวลาใดที่เจ้ามีโอกาสทําบุญทํากุศลบ้าง เรียกว่า พอจะมีบุญบารมีเป็นของตัวเองบ้าง
เจ้าก็จะต้องไปผ่อนใช้หนี้ที่เจ้าเคยขอร้องยืมเขามาจนหมดสิ้นแทบไม่เหลือสําหรับตัวเอง แล้วเจ้าจะมีบุญกุศลใดติดตัวไว้จุนเจือตัวเองใน ภพหน้าที่ยังจะต้องเวียนว่ายตายเกิด
อันเป็นวัฏฏทุกข์ที่เราพุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะต้องรับรู้ รับทราบ
ถ้าเรามั่นใจในคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ฉะนั้น เจ้าจงหมั่นสะสมบุญทั้ง ทาน ศีล ภาวนา ไว้อย่างสม่ําเสมอ เทพยดาฟ้าดินจะเอ็นดูช่วยเหลือเจ้าเอง
จงจําไว้เถิดว่า เมื่อได้ทําบุญทํากุศลแล้ว อย่าคิดว่าจะได้รับผลนั้นทันที จะทําให้จิตใจหดหูท้อถอย
แต่จงมั่นใจเถิดว่า ผลบุญนั้นไม่สูญหายไปไหน เพราะการให้ผลของ “กรรม” นั้นจะให้ผลตามกําหนด
ถ้ายังไม่ถึงเวลาที่ส่งผลแล้ว แม้แต่เทพเจ้าหรือผู้มีฤทธิ์องค์ใดที่เจ้าไปขอร้องให้ช่วยเหลือ ก็ไม่สามารถให้ผลนั้นเกิดได้
แต่เมื่อถึงเวลาที่จะให้ผล ทั่วฟ้าดิน ก็ต้านทานผลของกรรมนั้นไว้ไม่อยู่
ฉะนั้น จงเตือนใจไว้เสมอว่า ถ้าประสงค์ความสุข ความเจริญโภคสมบัติ จงหมั่นสร้างบุญ สร้างกุศลไว้อย่างสม่ําเสมอ มากบ้าง น้อยบ้าง ตามกําลังศรัทธา
เพราะเราไม่อาจจะรู้ได้ว่าอดีตชาติเราได้สร้างบุญหรือสร้างบาปไว้มากน้อยเพียงใด และผลของกรรมใดจะส่งผลก่อนหรือหลัง เพื่อความไม่ประมาทจึงควรจะสร้างบุญกุศลเป็นการเพิ่มเติมไว้เสมอ
ถ้าอดีตทําไว้มากแล้วก็จะยิ่งมีมากขึ้น ย่อมให้ผลก่อนที่มีกําลังน้อยกว่า อันเป็นกฎธรรมชาติของกรรม
ฉะนั้น ด้วยความไม่ประมาท จงระลึกไว้ว่า ถ้าตนเองไม่สะสมไว้แล้ว ใครที่ไหนจะช่วยเจ้าได้ เจ้าจะมีอะไรไว้เป็นทุนเดินทางเวียนว่ายในวัฏทุกข์ที่ยังต้องผจญต่อไป ไม่รู้ว่าจะจบสิ้นเมื่อไร
จงระลึกไว้เสมอว่า เจ้าสะสมเตรียมตัวไว้เดินทางแล้วหรือยัง จะรอให้คนอื่นทําไปให้นั้น จะมั่นใจดีเท่ากับเราเตรียมหาไปเองหรือ ดังพุทธสุภาษิตท่านสอนไว้ว่า
"อตุตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตนนั่นแล...”
นี่คือธรรมปัญญาของสมเด็จโต ที่เตือนสติมนุษย์ทุกนามให้รู้อยู่ทุกขณะว่า จิตศรัทธานั้นได้ปฏิบัติถูกทางหรือไม่ เพราะสังคมทุกวันนี้ ธรรมปัญญาเหลือน้อย มีแต่เอาปัญญาแห่งการคดโกงกัน
ดังนั้นจะหวังอะไรกับมนุษย์ที่ยังไม่หลุดจากสภาพโลก...แล้วธรรมปัญญาจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะธรรมปัญญานี้ต้องเกิดจากตัวเองเป็นที่พึ่ง นั่นคือการทําบุญถูกทาง ทําได้ทุกเรื่องตามศรัทธาที่เห็นว่าดีงาม
ดังนั้นมนุษย์ต้องไม่ลืมการสร้างความดีงามด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อให้ตนคิดเองได้ด้วยธรรม เป็นความสว่างในจิต เป็นธรรมปัญญา ไม่ใช่กิจกรรมบนบาน สวดมนต์ร้องขอ ไม่มีบุญในตัวเอง...มนุษย์วันนี้จึงติดหลงติดสุขไม่จบสิ้น จึงขอให้นําหลักธรรมไปสร้างปัญญา เพื่อให้เกิดธรรมปัญญาประคองตนให้บริสุทธิ์ทั้งกาย ใจ ตลอดไป...เพื่อความสุขของตนและเพื่อนมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในชาตินี้
อ่านต่อ>>
** หนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ชุดนี้ เขียนโดย อ. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เว็ปไซต์นี้จัดทำเพื่อการศึกษา ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์