สมเด็จโตนั้นทรงสอนให้มนุษย์รู้จักการฝึกจิตเพื่อแผ่เมตตาให้จิตแจ่มใส ว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิผลได้นั้น เกิดจากกรรม ๓ อย่าง คือ
มโนกรรม เป็นใหญ่ แล้วค่อยแสดงออกมาทาง วจีกรรม หรือ กายกรรม ที่เป็นรูป
การบําเพ็ญสมาธิ จิตเป็นกุศลดีกว่า เพราะว่า การแผ่เมตตา ๑ ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้างโบสถ์หนึ่งหลัง
ขณะที่จิตแผ่เมตตานั้น จะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย ฉะนั้นเขาจึงว่า นามธรรม มีความสําคัญกว่า
ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จักคําว่า แผ่เมตตา คือ ต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณที่กระจายออกไป
เมื่อจิตของเรามีเจตนาบริสุทธิ์ เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา หรืออีกนัยหนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขา เขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเราแม้แต่คนอันธพาล
เราแผ่เมตตาจิตให้ทุกๆ วัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้ เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุกๆ ดวง ดวงวิญญาณทุกๆ ดวงย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิ จิต วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง ๔ นั้นจะเสมอกันแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป
ฉะนั้น ผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ําเสมอ จิตแน่วแน่แล้วโรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป
ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้ว คือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัยหรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่งเดิมได้
ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนมี สมาธิ แน่วแน่ เมื่อจิตนิ่งก็จะรู้ตน เริ่มพิจารณาตน รู้ตนเองได้ ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญานี้เรียกว่า ปัญญาภายในจากจิตวิญญาณ ซึ่งเราจะใช้ปัญญานี้ได้แน่นอน
เมื่อเกิดมีปัญหาขึ้นในชีวิตตลอดระยะเวลาอันยาวนานข้างหน้า นี่คือประโยชน์ของการฝึกจิตแล้ว คุณของสมาธิก็จะเป็นพลังป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยเจ็บป่วยได้ กล่าวคือ การบําเพ็ญจิตจนจิตสงบนิ่งแล้วระบบต่างๆ ทางประสาทก็จะได้รับการพักผ่อน เป็นการปรับธาตุในกายให้เกิดพลังจิตเข้มแข็ง
กายเนื้อก็จะแข็งแรงกระชุ่มกระชวยด้วย โลหิตในร่างกายจะหมุนเวียนสะดวกขึ้น ความตึงเครียดตามร่างกายและประสาทต่างๆ จะผ่อนคลายเป็นปกติ โรคต่างๆ จะลดน้อยลง โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงหายป่วยได้ด้วยการฝึกจิตและเดินจงกรม
อ่านต่อ>>
** หนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ชุดนี้ เขียนโดย อ. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เว็ปไซต์นี้จัดทำเพื่อการศึกษา ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์