สมเด็จโตได้สอนถึงการทําบุญที่มีกิเลสของมนุษย์นั้นให้เห็นการเสวยสุขแห่งบุญว่า
การทําบุญก็ดี การทําสิ่งใดก็ดี ถ้าเป็นการทําตนให้ละทิฏฐิมานะ ทําเพื่อให้จิตเบิกบานแล้ว ย่อมเสวยบุญนั้นในปรภพ
มนุษย์ทุกวันนี้ทําบุญแบบมีกิเลส ดังนั้นบางคนนึกว่าเขาสร้างโบสถ์เป็นหลังๆ แล้ว เขาจะไปสวรรค์หรือเปล่า เขาตายไปอาจจะต้องตกนรก เพราะอะไรเล่า เพราะถ้าเขาสร้างด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์เป็นการทําเพื่อเอาบุญบังหน้าในการเสวยความสุขส่วนตัวก็มี
บางคนอาจเรียกได้ว่าหน้าเนื้อใจเสือ คือ ข้างหน้าเป็นนักบุญข้าง หลังเป็นนักปล้น
ดังนั้นบุญที่เขาทํานี้ถือว่าไม่เป็นสุข หากมาจากการก่อกรรม บุญนั้นจึงมีกระแสคลื่นน้อยกว่าบาปที่เขาทําเอาไว้
หากมีใครเข้าใจคําว่า บุญนี้ดีแล้ว การทําบุญนี้ จุดแรกในการทําก็เพื่อไม่ให้เรานี้เป็นคนตระหนี่ รู้จักเสียสละเพื่อความสุขของผู้อื่น ธรรมดามนุษย์ด้วยกัน เมื่อมีทุกข์ก็ควรจะทุกข์ด้วย เมื่อมีความสุข ก็ควรสุขด้วยกัน
ในการทําบุญ สิ่งที่จะได้ก็คือ ระหว่างเราผู้เป็นมนุษย์ เรารู้ว่าสิ่งที่เราทํานี้จะเป็นมงคล ทําให้จิตใจเบิกบานดี นี่คือการเสวยผลแห่งบุญในปัจจุบัน
ทีนี้การทําบุญเพื่อจะเอาผลตอบแทนนั้น มนุษย์จึงออกจะเอาเปรียบเทวดา ทําบุญครั้งใดก็ปรารถนาเอาวิมานหนึ่งหลังสองหลัง การทําบุญแบบนี้เรียกว่า ทําเพราะหวังผลตอบแทนด้วยความโลภ บุญนั้นก็ย่อมจะไม่มีผล
ท่านอย่าลืมว่าในโลกวิญญาณ เขามีกระแสทิพย์รับทราบในการทําของมนุษย์แต่ละคน เขามีห้องเก็บบุญและบาปแห่งหนึ่ง อันเป็นที่เก็บบุญและบาปของใครต่อใครและของเรื่องราวนั้นๆ กรรมของ ใครก็จะติดตามความเคลื่อนไหวของตนตนนั้นไปตลอด ในระหว่างที่เขายังไม่สิ้นอายุขัย
การที่สอนให้ทําบุญโดยไม่ปรารถนานั้น ก็เพื่อให้กระแสบุญนั้นบริสุทธิ์เป็นขั้นที่หนึ่ง จะได้ตามให้ผลทันในปัจจุบันชาติ แต่ถ้าตามไม่ทันในปัจจุบันชาติ ก็จะติดตามไปให้เสวยผลในปรภพ คือเมื่อสิ้นอายุขัยจากโลกมนุษย์ไปแล้ว
ฉะนั้น เขาจึงสอนไม่ให้ทําบุญเอาหน้า ทําบุญอย่าหวังผลตอบแทน สิ่งดีที่ท่านทําไป ย่อมได้รับสนองดีอย่างแน่นอน
โดยเฉพาะนักปฏิบัติธรรมแล้ว การทําบุญทําทานย่อมเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติจิตให้บรรลุธรรมได้เร็วขึ้น เป็นบารมีอย่างหนึ่งในบารมีสิบทัศที่ต้องสั่งสม เพื่อให้สําเร็จในมรรคผลนิพพาน
การทําบุญให้ทานเพียงแต่เรียกว่า ทานบารมี หากบําเพ็ญสมาธิจิตจนได้ ญาณบารมี และโดยเฉพาะการบําเพ็ญทุกอย่างนั้น ถ้าท่านให้โดยไม่มีเจตนาแห่งการให้ ให้สักแต่ว่าให้เขานั้น ท่านก็ย่อมได้กุศลเรียกว่าไม่มาก
และทัศนคติของอาตมาว่า “การบําเพ็ญเมตตาบารมีในภาวนาบารมีนั้น ได้กุศลกรรมกว่าการให้ทาน”
อ่านต่อ>>
** หนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ชุดนี้ เขียนโดย อ. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เว็ปไซต์นี้จัดทำเพื่อการศึกษา ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์