หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน (๔)

หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน (๔)

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น สมเด็จโตทรงประทานหลักสําคัญไว้ ดังนี้

๑. จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง

๒. จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์

๓. พยายามตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐาน

ดังนั้น เมื่อจะเป็นนักปฏิบัติธรรมจึงจําเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเราเพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็ง ธรรมแห่งการหลุดพ้นสังสารวัฏ สมเด็จโตมักจะกล่าวอยู่เสมอแก่สานุศิษย์ทั้งหลายให้รู้จักหลุดพ้นและอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา ชําระจิตให้สะอาดว่า

“ชีวิตมนุษย์อยู่ได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยปี ก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า”

ดังนั้น มนุษย์จึงควรประพฤติปฏิบัติอยู่ใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ

โดยเปรียบเทียบว่า มนุษย์นั้นอาบน้ำ ชําระกายวันละสองครั้ง เพื่อกําจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย แต่ไม่เคยคิดชําระจิตให้สะอาดแม้แต่เพียงนาที

ดังนั้น การทําให้จิตใจของมนุษย์ยุคปัจจุบันได้เศร้าหมองเคร่งเครียดและดุดัน จึงก่อให้เกิดปัญหาความพิการในสังคม ความแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นกัน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง และกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน

ขอให้ท่านได้พิจารณาไตร่ตรองให้จงดีเถิดว่าร่างกายของเรานี้ ไฉนจึงต้องชําระทุกวันทั้งเช้าและเย็น จะขาดเสียไม่ได้ตรงที่หมั่นทําความสะอาดอยู่เป็นนิจแล้ว แต่ก็ยังมีกลิ่นไม่น่าอภิรมย์ออกมา แม้จะพยายามหาของหอมมาทาทับ ก็ปกปิดกลิ่นนั้นไม่ได้

ใจของเราเล่าซึ่งเป็นใหญ่กว่าร่างกาย เป็นผู้สั่งบัญชางานให้กายแท้ๆ มีใครเอาใจใส่ชําระสิ่งสกปรกออกบ้าง ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มันสั่งสมสิ่งไม่ดีไว้มากเพียงใดหรือว่ามองไม่เห็นจึงไม่มีความจําเป็นที่จะต้องทําความสะอาดหรือ

กฎแห่งปัจจังตัง

เรื่องของกรรมลิขิตนั้นสมเด็จโตได้สอนให้เข้าใจถึงกฎแห่ง ปัจจังตังทั้งนั้นว่า

เราทั้งหลายเกิดมาเป็นมนุษยชาติแล้ว ล้วนแต่มีกรรมผูกพันกันมาทั้งสิ้น ผูกพันในความเป็นมิตรบ้าง เป็นศัตรูบ้าง

แต่ละชีวิตก็ย่อมที่จะเดินไปตามกรรมวิบากของตนที่ได้กระทําไว้ ทุกชีวิตล้วนมีกรรมเป็นเครื่องลิขิต

อดีตกรรมนั้น ถ้ากรรมดีเสวยอยู่ ปัจจุบันกรรมสร้างกรรมชั่ว ย่อมลบล้างอดีตกรรม กรรมแห่งอกุศล วิบากตน ปัจจุบัน สร้างแต่กรรมดี ย่อมผดุงเรื่องกฎแห่งกรรม ถ้าเป็นชาวพุทธแล้ว ถือว่าเป็นกฎ - แห่งปัจจัตตัง ผู้ที่ต้องการรู้ ต้องทําเอง รู้เอง ถึงเอง แล้วจึงจะเข้าใจ

อ่านต่อ>>

 

** หนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ชุดนี้ เขียนโดย อ. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เว็ปไซต์นี้จัดทำเพื่อการศึกษา ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้