ในปลายรัชกาลที่ ๔ นั้นได้มีคณะมิชชันนารีซึ่งเป็นชาวต่างประเทศเดินทางมาเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่กรุงเทพฯ เพื่อให้คนไทยหันมาถือคริสต์ศาสนาโดยได้หัดเรียนพูดภาษาไทยได้รู้เรื่อง ครั้นไปชักชวนคนไทยหรือพูดคุยกับผู้ใดในบางกอก เขาเหล่านั้นนับถือสมเด็จโตกันทั้งนั้น เมื่อฝรั่งต่างชาติที่รู้กิตติศัพท์ว่าสมเด็จโตนั้นเป็นปราชญ์ทางธรรมที่คนไทยไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาแน่ จึงคิดลองภูมิความรู้กับสมเด็จโต
ดังนั้นคณะมิชชันนารีจึงนั่งเรือเดินทางไปยังวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งร่ำลือเล่ากันว่าสมเด็จโตนั้นทรงภูมิความรู้ในพระธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดียิ่ง และคิดประมาทว่าท่านคงจะรู้แค่ทางธรรม เรื่องทางโลกคงไม่รู้อะไร สมเด็จโตจึงย้อนถามว่า
“อะไรเล่าจ๊ะ ที่ว่าเป็นเรื่องราวทางโลกที่อาตมาไม่รู้”
ฝรั่งต่างชาติว่าเช่นเรื่องราวสัณฐานโลกที่ชาวยุโรปเชื่อว่าโลกกลม แต่ชาวไทยส่วนใหญ่เชื่อว่า โลกแบน แถมยังจะมีปลาอานนท์หนุนแผ่นดินอยู่”
สมเด็จโตหัวเราะชอบใจ แล้วว่า “อย่าว่าแต่รู้ว่าโลกกลมเลย อาตมารู้แม้กระทั่งศูนย์กลางของโลกว่าอยู่ที่ไหน”
คณะฝรั่งชาวตะวันตกจึงว่าไหนๆ ก็ลองกันแล้วจึงขอให้สมเด็จโตแสดงให้รู้ว่าศูนย์กลางโลกอยู่ตรงไหน
สมเด็จโตก็ตอบฝรั่งไปว่า “จุดศูนย์กลางของโลกนั้นอยู่ทุกหนทุก แห่งบนพื้นผิวโลก ไม่ว่าฉันจะไปยืน ณ ที่ใดตรงนั้นคือจุดศูนย์กลางของโลก”
ฝรั่งถามว่า “ท่านพิสูจน์ให้เห็นได้ไหม”
สมเด็จโตตอบว่า “อาตมาพิสูจน์ได้ แล้วท่านจะว่าอย่างไร
ฝรั่งต่างชาติไม่ตอบ จากนั้นสมเด็จโตก็ถือตาลปัตร แล้วหยิบสายสิญจน์ไปใช้แทนเชือก เอาสายสิญจน์ผูกที่ตาลปัตร แล้วเอาตาลปัตรปักดิน แล้วให้ดึงเชือกสายสิญจน์ออกไปจนถึงใช้ปลายนิ้วแทนดินสอ จากนั้นก็ลากลงบนพื้นดินเป็นวงกลม
สมเด็จโตบอกว่า “วงกลมคือโลก เพราะฉะนั้นที่ฉันยืนตรงนี้คือ ยืนอยู่จุดศูนย์กลางของโลกตรงจุดที่ตาลปัตรปักดินนั้นแหละ อ้าว ไหนท่านบอกว่า โลกกลมยังไรเล่า ถ้าโลกกลมจริงท่านวัดจากจุดนี้อ้อมโลก ย้อนกลับมาตรงจุดเดิม ก็จะได้กึ่งกลางพอดี ไม่ใช่หรือจ๊ะ”
ฝรั่งต่างชาติจึงพากันได้สติ ต่างพากันสรรเสริญถึงธรรมปัญญาของสมเด็จโตว่าเป็นเลิศจริงๆ สมแล้วที่เป็นพระเถระที่ชาวบางกอกพากันเลื่อมใสไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา
เป็นธรรมปัญญาที่สมเด็จโตสามารถพิสูจน์ให้ฝรั่งต่างชาติเห็นด้วยหลักวิทยาศาสตร์ ไม่แตกต่างกับหลักธรรมที่สมเด็จโตได้ศึกษาจนแตกฉานคือ มีความคิดได้จนเป็นปัญญาตอบปัญหาได้อย่าง เถระบางรูปที่สามารถปุจฉาและวิสัชชนาให้เข้าใจได้...
อ่านต่อ>>
** หนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ชุดนี้ เขียนโดย อ. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เว็ปไซต์นี้จัดทำเพื่อการศึกษา ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์