ปัญหาที่ถกเถียงกันมากก็คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กล่าวคือ เมื่อสมเด็จโตอายุ ๘๕ ปี และมรณภาพใน พ.ศ. ๒๕๑๕ นั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ (รัชกาลที่ ๕ พระราชสมภพ พ.ศ. ๒๓๙๖) มีพระชนมายุ ๑๙ ปี ดังนั้น พระสมเด็จ ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ก็น่าจะได้มีการสร้างถวายสมเด็จโตในรัชกาลที่ ๕ ด้วย สําหรับพระสมเด็จที่สมเด็จโตสร้างเพื่อประทานให้เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์นั้นไม่ปรากฏเป็นหลักฐานว่ามีการสร้างถวายเป็นพิเศษ แต่ก็เชื่อในชั้นต้นว่า ในช่วงที่เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์มีพระชนมายุ ๑๒ พรรษาได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ นั้น สามเณรเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ได้จําพรรษาที่วัดบวรนิเวศวรวิหารอยู่นาน 5 เดือน โอกาสที่สามเณรเจ้าฟ้าฯ เข้าพบและ สดับเทศนาธรรมจากสมเด็จโตจึงน่าจะเกิดขึ้นได้ในฐานะเป็นพระราชาคณะ ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ โอกาสที่เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ จะได้รับพระสมเด็จเป็นอนุสรณ์นั้นเกิดขึ้นได้หลายครั้ง โดยเฉพาะกรณีที่สมเด็จโตต้องเทศนาธรรมในพระบรมมหาราชวังอยู่จนสิ้นรัชกาลที่ ๔
ต่อมาเมื่อขึ้นรัชกาลใหม่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ สมเด็จโตในฐานะสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จ พระพุฒาจารย์ อายุ ๘๐ ปี จึงมีโอกาสร่วมในพระราชพิธีสําคัญนั้น จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทําให้มีการศึกษาดวงชะตาพระเถระผู้ใหญ่ในเวลาต่อมา
ในรัชกาลที่ ๕ นั้นมีความเล่าถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ว่า เมื่อปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๒๓๒ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลนั้น เจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) ได้จัดการประชุมนักปราชญ์ทุกชาติ ทุกภาษาล้วนต่างเป็นบุคคลที่มีความรู้ทางการศาสนาของชาตินั้นที่บริเวณบ้านแถวคลองสาน
เจ้าพระยาฯ ผู้สําเร็จราชการแผ่นดิน ให้ทนายไปอาราธนานิมนต์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปแสดงธรรมเผยแผ่ความรู้ในสิ่งที่ถูกที่ชอบ ด้วยการโลกการธรรมในพุทธศาสนาอีกภาษาหนึ่งในชาติเหมือนเป็นพระเถระตัวแทนของสยามประเทศ
สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เมื่อรู้ในคําอาราธนา จึงรับสั่งว่า ฉันยินดีแสดงนักในข้อเข้าใจ ทนายกลับไปกราบเรียนเจ้าพระยาฯ ซึ่งเป็นพระผู้ประศาสน์ในพิธีการว่า สมเด็จโตที่วัดรับแสดงธรรมแล้ว ในเรื่องแสดงให้รู้ความผิดถูกทั้งปวงได้
พอถึงวันกําหนด สมเด็จโตจากวัดระฆังโฆสิตารามได้ไปถึงบ้านคลองสาน นักปราชญ์ทั้งหลายยอมให้นักปราชญ์ของไทยฐานะเจ้าภาพ แสดงข้อคิดเห็นก่อนในที่ประชุม ปราชญ์และขุนนางทั้งปวงก็มาฟังประชุมด้วย
เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงอาราธนาสมเด็จโตขึ้นธรรมาสน์แล้วนิมนต์ให้สําแดงธรรมในทันที สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงได้กล่าววาจาสําแดงธรรมขึ้นว่า
“พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา”
ด้วยสําเนียงทุ่มๆ ครางๆ อยู่นานสักชั่วโมงหนึ่ง เจ้าพระยาฯ ผู้ประศาสน์เห็นเช่นนั้นก็ลุกขึ้นจี้ตะโพกสมเด็จโตที่วัตรแล้วกระซิบเตือนว่า ขยายคําอื่นให้ฟังบ้าง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็เปล่งเสียงดัง ขึ้นกว่าเดิมอีกชั้นหนึ่ง แล้วขึ้นเสียงด้วยถ้อยคําเดิมว่า
“พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหา พิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา” ฯลฯ
สมเด็จโตท่องว่าอยู่นานสักหนึ่งชั่วโมงอีก จนเจ้าพระยา ผู้ประศาสน์ลุกขึ้นมาจี้ตะโพกสมเด็จโตที่วัตรอีก ว่าขยายคําอื่นให้เขาฟังรู้ บ้างซิขอรับ สมเด็จโตที่วัตรก็เลยตะโกนดังกว่าครั้งที่สองขึ้นอีกชั้นหนึ่งว่า
“พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหา พิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณามหา พิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา”
แล้วอธิบายว่า
“การของโลกก็ดี การของชาติก็ดี การของศาสนาก็ดี กิจที่จะพึงกระทําต่างๆ ในโลกก็ดี กิจควรกระทําสําหรับข้างหน้าก็ดี กิจควรทําให้สิ้นธุระทั้งปัจจุบันและข้างหน้าก็ดี สําเร็จกิจเรียบร้อยดีงามได้ด้วยกิจ พิจารณาเป็นชั้นๆ พิจารณาเป็นเปลาะๆ เข้าไปตั้งแต่หยาบๆ และ ปูนกลางๆ และชั้นสูง ชั้นละเอียด พิจารณาให้ประณีตละเมียดเข้า จนถึงที่สุดแห่งเรื่อง ถึงที่สุดแห่งอาการ ให้ถึงที่สุดแห่งกรณี ให้ถึงที่สุดแห่งวิธี ให้ถึงที่สุดแห่งประโยชน์ ยืดยาว พิจารณาให้รอบคอบทั่วถึงแล้ว ทุกๆ คนจะรู้จักประโยชน์คุณเกื้อกูลตน ตลอดทั้งเมื่อนี้ เมื่อหน้า จะรู้ประโยชน์อย่างยิ่งได้ ก็ต้องอาศัยกิจพิจารณา เลือกพื้น ค้นหาของดี ของจริงเด่นเห็นชัด ปรากฎแก่คนก็ด้วยการพิจารณาของคนนั่นเอง ถ้าคนใดสติน้อย ถ่อยปัญญา พิจารณาหาเหตุผลเรื่องราวกิจการงานของโลกของธรรมแต่พื้นๆ ก็รู้ได้พื้นๆ
ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาเป็นอย่างกลาง ก็รู้เพียงชั้นกลาง ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดลึกซึ้ง ในข้อนั้นๆ อย่างสูงสุด ไม่หลับหูหลับตา ไม่งมงายแล้ว อาจจะเห็นผลแก่ตน ประจักษ์แท้ แก่ตนเอง ดังปริยายมาทุกประการ”
ครั้นจบความแล้วสมเด็จโตลงจากธรรมาสน์ โดยไม่มีนักปราชญ์ชาติอื่นๆ ภาษาอื่นๆ ซึ่งมีแขกแลฝรั่งเป็นต้น ก็ไม่อาจออกปากขัดคอ คัดค้านถ้อยคําของท่านสักคน ต่างอัดอั้นตู้ไปหมด
เจ้าพระยาฯ ก็ได้แต่พยักหน้า ครั้นให้หมู่นักปราชญ์ชาติทั้งหลาย ที่มาประชุมคราวนั้นขึ้นเวทีแสดงบ้าง ต่างไม่อาจนําออกแสดงแถลงในที่ประชุมได้ ถึงต่างคนต่างเตรียมเขียนมาก็จริง แต่คําของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ครอบคลุมไปหมด จะยักย้ายโวหาร หรือจะอ้างเอาศาสดาของตนๆ มาแสดงในที่ประชุม ก็เกรงจะเก้อเขิน ในการที่จะต่่ำ จะขึ้นเหนือความพิจารณาที่สมเด็จโตที่วัดระฆังกล่าวนั้นไม่ได้เลย จึงลงนั่งพยักหน้าเกี่ยงให้กันขึ้นเวที ซึ่งไม่มีใครกล้าขึ้น
เจ้าพระยาฯ เองก็ซึมทราบในความนั้นเป็นอย่างดี และเห็นจริงตามปริยายของทางพิจารณา รู้ได้ตามชั้น ตามภูมิ ตามกาล ตามบุคคลที่ยิ่ง และหย่อนอ่อนและกล้า จะรู้ได้ก็ด้วยการพิจารณา ถ้าไม่พิจารณา ก็หาความรู้ไม่ได้เลย ถ้าพิจารณาต่่ำ หรือน้อยวันพิจารณา หรือน้อยพิจารณา ก็มีความรู้น้อย ห่างความรู้จริงของสมเด็จฯ ที่วัตรทุกประการ
วันนั้นก็เป็นอันเลิกประชุมปราชญ์ศาสนาโดยต่างคนต่างลากลับ
อ่านต่อ>>
** หนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ชุดนี้ เขียนโดย อ. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เว็ปไซต์นี้จัดทำเพื่อการศึกษา ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์